Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8512
Title: กระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบบสั่งตัดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Consumer decision process in buying tailor made clothes in Bangkok Metropolis
Authors: เสาวภา มีถาวรกุล
ศรีรุ้ง หมื่นโฮ้ง, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
เสื้อผ้า
เสื้อผ้าและการตัดเย็บ
พฤติกรรมผู้บริโภค
การซื้อสินค้า
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแบบสั่งตัดของผู้บริโกคในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาความสำคัญของกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบบสั่งตัดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริโภคที่ซื้อเสื้อผ้าแบบสั่งตัดในเขตกรุงเทพมหานครเฉพาะผู้บริโภคที่สั่งตัดเสื้อผ้าเพื่อตนเองและคนในครอบครัว จำนวน 100 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบบสั่งตัจของผู้ตอบแบบสอบถาม 5 ขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบียงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแบบสั่งตัดของผู้บริไภค ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 36 - 50 ปี อาชีพพนักงานบริษัท ร้านค้าเอกชน การศึกษาระคับ ปวส. ถึง ปริญญาตรี มีรายได้ตั้งแต่ 10,001 - 15,000 บาท สถานภาพ โสค วัตถุประสงค์ในการสั่งตัดเสื้อผ้าเพื่อใช้เป็นชุดทำงาน ประเภทของเสื้อผ้าที่สั่งตัดคือ กางเกง โดยได้รับอิทธิพลจากจากการตัดสินใจด้วยตัวเองมากที่สุด (2) ความสำตัญของกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบบสั่งตัด จากการวิเคราะห์กระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบบสั่งตัดใน 5 ขั้นตอนพบว่าขั้นตอนที่มีระดับความสำคัญมากที่สุดคือขั้นตอนค้นหาข้อมูลโดยข้อมูลที่ต้องการมากที่สุดคือช่องทางการจัดจำหน่ายในเรื่องการตรงต่อเวลานัดหมายถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพราะมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในทุกข้อมูลที่ได้จากการวิจัย ความรู้สึกหลังการซื้อเสื้อผ้าแบบสั่งตัดของผู้บริโภคพบว่าในกรณีที่ไม่พอใจกับการบริการ จะให้ผู้ให้บริการแก้ไขงานจนกว่าจะพอใจและกรณีที่พอใจกับการบริการก็จะติดต่อผู้ให้บริการรายเดิมเพื่อใช้บริการอีกขณะเคียวกันก็พบว่าปัญหาที่พบในการใช้บริการเสื้อผ้าแบบสั่งตัดของผู้ตอบแบบสอบถามคือไม่สามารถรับสินค้าใด้ตามเวลานัดหมาย และจากการตอบแบบสอบถามพบว่าแนวโน้มการบริการเสื้อผ้าแบบสั่งตัดจะเป็นที่นิยมต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8512
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
139681.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons