Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8526
Title: การควบคุมผู้ต้องโทษปรับด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์แทนการกักขังแทนค่าปรับ
Other Titles: Monitoring of convict inflicted by punishment of fine by electronic tagging instead of punishment of confinement on lieu of fine
Authors: ภาณินี กิจพ่อค้า
จุรีวรรณ มานะการ, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
นักโทษ--การควบคุม
ค่าปรับ.
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: บทการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การควบคุมผู้ต้องโทษปรับด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์แทนการกักขังแทนค่าปรับ มีวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ในการลงโทษแก่ทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดที่กระทำความผิด เล็กน้อย ไม่ร้ายแรง หรือลหุโทษ เมื่อผู้ต้องโทษปรับชำระค่าปรับครบถ้วนตามจำนวนที่ศาลกำหนด ก็ถือว่าผู้ต้องโทษได้รับโทษเสร็จสิ้นแล้ว แต่บางกรณีที่ผู้ต้องโทษปรับไม่สามารถชำระค่าปรับได้ ซึ่งกฎหมายอาญา กำหนดว่า“กรณีที่ผู้ต้องโทษปรับไม่สามารถชำระค่าปรับ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีคำพิพากษาผู้ต้องโทษปรับ จะต้องถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือถูกกักขังแทนค่าปรับ แต่ถ้าศาลเห็นเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ต้องโทษปรับต้องจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าปรับศาลจะสั่งเรียกประกันหรือจะสั่งกักขังแทนค่าปรับไปพลางก่อน” แต่ทางปฏิบัติใน ปัจจุบันเมื่อผู้ต้องโทษปรับไม่ชำระค่าปรับ ศาลมักจะใช้วิธีการกักขังแทนค่าปรับทันที เนื่องจากสะดวกรวดเร็ว และไม่เป็นภาระต่อศาล กรณีดังกล่าวส่งผลให้ผู้ต้องโทษปรับที่ไม่มีเงินในการชำระค่าปรับถูกกักขังเป็นจำนวนสูงขึ้น ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการมาตรการลงโทษปรับโดยให้ผู้กระทำความผิดทำงานบริการสังคมหรือทำงาน สาธารณะประโยชน์แทนค่าปรับได้ แต่ก็เป็นเพียงมาตรการหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการกักขังแทนค่าปรับ ซึ่งผู้ต้องโทษปรับที่จะได้รับอนุญาตให้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณะประโยชน์แทนค่าปรับก็ต้องอยู่ ภายใต้หลักเกณฑ์ซึ่งกฎหมายอาญากำหนด คือต้องเป็นผู้ต้องโทษปรับที่ศาลลงโทษปรับไม่เกิน 80,000 บาท หากไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าวก็ต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ ซึ่งมาตรการกักขังแทนค่าปรับเป็นการลงโทษโดยบังคับเอาแก่ เสรีภาพของผู้กระทำความผิด อันไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของการลงโทษปรับ และการกักขังแทนค่าปรับผู้กระทำความผิดร้ายแรงต้องอยู่ร่วมปะปนกันกับผู้กระทำความผิดเล็กน้อย ส่งผลให้เกิดการถ่ายทอดพฤติกรรมของอาชญากร อีกทั้งสถานที่กักขังแทนค่าปรับก็ไม่สามารถกกขังในที่อยู่อาศัยของผู้ต้องกักขัง ที่อยู่ อาศัยของผู้อื่นที่ยินยอมรับผู้นั้นไว้หรือสถานที่อื่นที่อาจกักขังได้เพื่อให้เหมาะสมกับประเภทหรือสภาพของผู้ถูกกักขัง รัฐจึงต้องรับภาระเรื่องงบประมาณเพื่อจัดให้สถานที่กักขัง จัดหางบประมาณเพื่อสร้างสถานที่เพิ่มขึ้นซึ่งทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณของรัฐ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการค้นคว้าจากกฎหมายและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตำรา หนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย รวมถึงข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำมาประกอบการศึกษา จากการศึกษาพบว่าในต่างประเทศมีการนำเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น กำไลข้อมือ ข้อเท้า มาใช้ ควบคุมผู้ต้องโทษปรับแทนการกักขังแทนค่าปรับ โดยผู้ต้องโทษปรับไม่ต้องอยู่ในสถานที่กักขังมีโอกาสใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว เรียนหนังสือและสามารถประกอบอาชีพได้ตาม ปกติทำให้ผู้ต้องโทษปรับมีรายได้มาชำระ ค่าปรับ ซึ่งตรงตามเจตนารมณ์ของการลงโทษปรับ ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่าประเทศไทยควรมีการนำเครื่องมือ อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ควบคุมผู้ต้องโทษปรับ แทนการกักขังแทนค่าปรับ เพื่อเป็นอีกมาตรการแทนการกักขังแทนค่าปรับของไทยต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8526
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_148730.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.86 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons