Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8570
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บัตรเครดิตของบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
Other Titles: Factors affecting usage of the credit card of Krungthai Card Company (Public Limited) in Muang Yala District, Yala Province
Authors: วิศนันท์ อุปรมัย
พัชรี กังสดาลโฆษิต, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
บัตรเครดิต--การตลาด
ธนาคารพาณิชย์--ไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บัตรเครดิต (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับปัจจัยคุณภาพการให้บริการในการตัดสินใจเลือกใช้บัตรเครดิต (3) ความสมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) กับปัจจัยคุณภาพการให้บริการ ในการตัดสินใจเลือกใช้บัตรเครดิตการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษาคือ ลูกค้าที่มาใช้บริการที่ธนาคารกรุงไทย ทั้ง 3 สาขาในเขตอำเภอเมืองยะลา ได้แก่ สาขาสิโรรส สาขายะลา และสาขาโคลีเซียม ซีนีเพล็กซ์ ยะลา ซึ่งเป็นผู้ที่ถือหรือใช้บริการบัตรเครดิตของบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) อยู่แล้ว จำนวน 23,800 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 394 คนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับความสำคัญของปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บัตรเครดิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการโดยเรียงลำดับระดับความสัมพันธ์จากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านรายได้รับต่อเดือน อายุ อาชีพ สถานภาพ ระดับการศึกษา ส่วนปัจจัยด้านเพศ ไม่มีความสัมพันธ์ (3) ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการ ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพและปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และปัจจัยด้านการรับรู้ความต้องการของผู้ใช้บริการมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับน้อยที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8570
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_161938.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.54 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons