Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8580
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมคิด พรมจุ้ย | th_TH |
dc.contributor.author | นพรัตน์ ใบยา, 2516- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-08-08T03:16:20Z | - |
dc.date.available | 2023-08-08T03:16:20Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8580 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลการสอบระดับชาติ (O-NET) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (2) จัดลำดับผลการสอบระดับชาติ (O-NET) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ตามจังหวัด ภูมิภาค และศึกษาความคงเส้นคงวาของการจัดลำดับ (3) ประเมินความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของผลการสอบระดับชาติ (O-NET) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามระดับโรงเรียน จังหวัด ขนาดสถานศึกษา สังกัด และที่ตั้ง และ (4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผลการสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนในโรงเรียน จาก 5 สังกัด ตั้งแต่ พ.ศ. 2552-2554 จาก สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) และข้อมูลนักเรียน ครู โรงเรียน และผู้บริหารสถานศึกษา จากผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย นักเรียน 1539 คน ครู 560 คน และผู้บริหาร จำนวน 116 คน ซึ่งเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความสัมพันธ์อันดับที่ของสเปียร์แมน ค่าร้อยละ สัมประสิทธิ์ของความแปรผัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า (1) ผลการประเมินผลสอบวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 3 ปี โรงเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ (2) การจัดลำดับผลการสอบระดับชาติ (O-NET) ของปี พ.ศ. 2552-2554 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ของโรงเรียนไม่มีความคงเส้นคงวา แต่ระดับจังหวัด และระดับภูมิภาคมีความคงเส้นคงวาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) ผลประเมินความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของผลสอบระดับชาติ (O-NET) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามระดับโรงเรียนและจังหวัดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนความเหลื่อมล้ำตามขนาดสถานศึกษาโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีความเหลื่อมล้ำมากที่สุด ส่วนตามสังกัดโรงเรียนสังกัด สช. มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุด สำหรับที่ตั้งของโรงเรียนโรงเรียนในเมืองมีความเหลื่อมล้ำมากกว่านอกเมืองในวิชาวิทยาศาสตร์ ส่วนโรงเรียนนอกเมืองมีความเหลื่อมล้ำมากกว่าโรงเรียนในเมืองในวิชาคณิตศาสตร์ และ (4) ปัจจัยที่ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีหลายด้านคือ ด้านนักเรียนและครอบครัว ได้แก่ ทรัพยากรทางการเรียนที่บ้าน การส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครอง ด้านครู ได้แก่ คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครู ความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การวัดผลประเมินผลอย่างหลากหลาย ด้านสถานศึกษา ได้แก่ การกระจายอำนาจด้านหลักสูตร | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน--การประเมิน | th_TH |
dc.subject | วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน--การประเมิน | th_TH |
dc.subject | การประเมินผลทางการศึกษา | th_TH |
dc.title | การประเมินความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย | th_TH |
dc.title.alternative | Assessment of educational inequality in mathematics and science study at the upper secondary level | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to (1) assess school mathematics and science test scores from the Ordinary National Education Test (O-NET) which was administered to Mathayom Suksa VI students; (2) rank schools, provinces, and regions based on the O-NET mathematics and science test scores, and examine ranking consistency at the school, provincial, and regional levels, (3) assess the extent of educational inequality in Mathayom Suksa VI mathematics and science O-NET test scores, as classified by school level, province, school size, jurisdiction, and location, and (4) examine factors influencing educational inequality in Mathayom Suksa VI mathematics and science test scores. Data for this study comprised mathematics and science test scores of all Mathayom Suksa VI students in schools under five jurisdiction categories from 2009 - 2011 which were obtained from the National Institute of Educational Testing Service (NIETS), and survey data on students, teachers, schools, and administrators obtained from the sample consisting of 1539 students, 560 teachers, and 116 school principals. Data were analyzed using the mean, standard deviation, Spearman rank correlation, coefficient of variation, and multiple regression analysis. Major research findings were (1) the O-NET test scores in mathematics and science of Mathayom Suksa VI students in most schools for the three academic years were at the moderate level; (2) based on the 2009 - 2011 assessment results, school rankings were inconsistent, but provincial and regional rankings were consistent at the .05 level of statistical significance; (3) educational inequality in mathematics and science O-NET test scores at the school and provincial levels was increased from 2009 to 2011; regarding the school size, it was found that educational inequality was relatively greater for extra large-sized schools; regarding the jurisdiction, educational inequality was greatest in schools under private education jurisdiction; as for school location, there was greater extent of inequality in science for urban schools compared with suburban and rural schools, but in mathematics urban schools had lower level of inequality; and (4) many factors that significantly correlated with the decrease of educational inequality in mathematics and science were the following: the factors of home educational resources and family academic support in the student and family dimension; the factors of instructional quality, teacher’s knowledge of contents, student-centered instruction, and teachers’ uses of diverse assessment methods in the teacher dimension; and the factor of curriculum decentralization in the school dimension. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | เพชรผ่อง มยูขโชติ | th_TH |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
134832.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License