Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8590
Title: พฤติกรรมการใช้สื่อและผลที่เกิดจากการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดชุมพร
Other Titles: The internet usage behaviors and effects of the internet usage of early adolescent students in small secondary schools in Chumphon Province
Authors: วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยินดี ช่วยปลอด, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --การศึกษาเฉพาะกรณี
อินเทอร์เน็ตกับวัยรุ่น--ไทย--ชุมพร
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตลุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้น (2) เปรียบเทียบผลที่เกิดจากการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้น จำแนกตามเพศระดับชั้น ผลการเรียนเฉลี่ยและอาชีพของผู้ปกครอง และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต กับผลที่เกิดจากการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตของวัยรุ่นตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนวัยรุ่นตอนต้นจำนวน 313 คนจากโรงเรียน มัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชุมพรได้จากการสุ่มแบบหลายชั้นตอน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างกำหนดโดยใช้วิธี ของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยง .86 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลไต้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความ แปรปรวน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาปรากฏว่า (1) พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าพฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการติดต่อสื่อสาร รองลงมาคือ ด้านความบันเทิง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการศึกษา (2) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมและผลที่เกิดจากการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต พบว่า ผลที่เกิดจากการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตโดยรวมด้านบวก อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ด้านตนเอง ด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา และด้านสังคมอยู่ในระดับมาก ส่วนผลโดยรวมด้านลบอยู่ในระดับมาก และด้านการศึกษาอยู่ใน ระดับปานกลาง การเปรียบเทียบพฤติกรรมและผลที่เกิดจากการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต พบว่า นักเรียนที่มีเพศต่างกัน ผลการเรียนเฉลี่ยต่างกัน และอาชีพของผู้ปกครองต่างกัน มีพฤติกรรมใช้สื่ออินเทอร์เน็ตโดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนนักเรียนที่เรียนในระดับชั้นต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผลที่เกิดจากการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตพบว่า นักเรียนที่มีเพศต่างกัน และผลการเรียนเฉลี่ย ต่างกัน มีผลการใช้อินเทอร์เน็ตโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่เรียนในระดับชั้นต่างกัน และอาชีพของผู้ปกครองต่างกันมีผลการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตโดยรวมไม่แตกต่างกัน และ (3) พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลที่เกิดจากการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (r= 0.44)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8590
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_152258.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.49 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons