Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8598
Title: ปมของผู้ต้องขังที่มีต่อภารกิจคืนคนดีสู่สังคม
Other Titles: The crux of prisoners toward the project of return good people to the society
Authors: ลัดดาวรรณ ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุชาติ สมณะ, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --การศึกษาเฉพาะกรณี
นักโทษ--การดำเนินชีวิต
การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
นักโทษ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปมของผู้ต้องขังที่มีต่อภารกิจคืนคนดีสู่สังคม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้ต้องขังในเรือนจำ และเป็นผู้ที่ได้รับโอกาสทางการศึกษา การพัฒนาจิตใจ และการพัฒนาอาชีพ ในโครงการด้านการพัฒนาพฤตินิสัยของเรือนจำ ณ เรือนจำกลางบางขวาง ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง และ แบบการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผู้ต้องขังมีความคิดและพฤติกรรมตามสัญชาตญาณ คือ มี พฤติกรรมการกระทำตามใจตน ไม่กระทำในสิ่งที่เป็นหน้าที่หลักของตน รวมทั้งมีความโกรธ ความ อัดอั้นตันใจ และมีความคิดที่ผิดพลาดไปจากความเป็นจริง (2) ผู้ต้องขังมีความคิดและพฤติกรรม ตามอุปนิสัยส่วนตัว คือ มีพฤติกรรมการปฏิเสธและไม่ยอมรับเอากิจกรรมต้านการศึกษา การอบรม และการฝึกวิชาชีพที่เกี่ยวกับการพัฒนาพฤตินิสัย โดยมีความต้องการที่จะทำกิจกรรมตามใจที่ตนคิด ยึดเอาตามใจตนเอง และ (3) ผู้ต้องขังมีความคิดและพฤติกรรมตามการเรียนรู้จากสังคม คือ มี พฤติกรรมที่แสดงถึงการขาดศีลธรรมอันดีในตน และการขาดความสนใจในหน้าที่ความรับผิดชอบของตน ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิตประจำวันกับผู้คนและเพื่อนๆ ในเรือนจำ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8598
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_152440.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.6 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons