Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8612
Title: การศึกษากระบวนการห่วงโซ่อุปทานของบริษัทจอลลี่ เท็กซ์ไทล์ อินดัสตรี จำกัด
Other Titles: Study of supply chain process of Jolly Textile Industry Company Limited
Authors: จีราภรณ์ สุธัมมสภา
ศิริขวัญ ขุนรัตนโรจน์, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การบริหารงานโลจิสติกส์
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการห่วงโซ่อุปทานของบริษัทจอลลี่ เท็กซ์ไทส์ อินคัสตรี จำกัด (2)เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนากระบวนการห่วงโซ่อุปทานของบริษัท จอลลี่ เท็กซ์ไทล์ อินดัสตรี จำกัดวิธีการศึกษาใช้วิธีการสัมภาษณ์หัวหน้างาน 5 ฝ่าย คือ ฝ่ายดีเทล ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิตฝ่ายส่งออก และฝ่ายบัญชี เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และการเขียนผังงานผลการศึกษาพบว่า (1) กระบวนการห่วงโซ่อุปทานของบริษัท จอลลี่ เท็กซ์ไทล์อินคัสตรี จำกัด เริ่มจากการรับคำสั่งซื้อของลูกค้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา คือ THE WILLIAM CARTER COMPANY โดยผ่านผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทย คือ บริษัท ลี แอนด์ ฟุ้ง (ประเทศ ไทย) จำกัด ทางบริษัท จอลลี่ เท็กซ์ไทล์ อินดัสตรี จำกัด จะทำการเลือกแบบสินค้าที่สามารถผลิตได้ทันเวลาในการจัดส่งตามที่กำหนด โดยเริ่มจากทางฝ่ายดีเทลก็จะทำการเตรียมรายละเอียดสินค้ากับทางฝ่ายผลิต เพื่อจะได้ผลิตสินค้าตามแบบที่กำหนด ในส่วนของการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบนั้น ทางฝ่ายจัดซื้อได้ทำการคูรายละเอียดสินค้าแล้วก็จะพิจารณาสั่งวัตถุดิบการผลิตจากผู้จัดหาวัตถุดิบ 3 แห่ง คือ บริษัท นันยางแฟบริค จำกัด บริษัท วายเกเค (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ทองไพบูลย์บรรจุกัณฑ์ จำกัด ปัญหาในกระบวนการห่วงโซ่อุปทานที่พบ คือ การส่งวัตถุคิบล่าช้าและไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการติดต่อสื่อสาร ซึ่งส่วนใหญ่ใช้การติดต่อสื่อสารด้วยการโทรศัพท์ ทำให้ขาดการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ถูกต้องต่อกัน (2) แนวทางการพัฒนากระบวนการห่วงโซ่อุปทานของบริษัท คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ที่เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินงานของบริษัท เพราะมีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันน้อย โดยการให้นำเทกโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วย เช่น การใช้ E-mail ในการติดต่อสื่อสาร ไปจนถึงการใช้ระบบ VMI
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8612
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
122035.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons