Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8628
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์th_TH
dc.contributor.authorอภิรักษ์ รุจิระภูมิth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-08-08T08:15:08Z-
dc.date.available2023-08-08T08:15:08Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8628en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในอําเภอฮอด (2) ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในอําเภอฮอด (3) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในอําเภอฮอด (4) เสนอแนวทางเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในอําเภอฮอดการศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสํารวจ โดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรแบ่งเป็น2 กลุ่ม ได้แก่ (1) ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอําเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่จาก 6 ตําบลรวม 37,917 คน และสุ่มตัวอย่างได้จํานวน 396 คน จากการใช้สูตรทาโร ยามาเน่ โดยกําหนดให้มีความคลาดเคลื่อนที่ระดับ .05(2) ประชากรที่เป็นผู้บริหารในพื้นที่จํานวน 8 คน ซึ่งได้แก่นายอําเภอฮอด และนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอําเภอฮอด ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ในการวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติเชิงอนุมาน ใช้การทดสอบค่าทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย และการวิเคราะห์โดยการจําแนกชนิดข้อมูลผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในอําเภอฮอด อยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยด้านด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และปัจจัยการนํานโยบายไปปฏิบัติด้านประชารัฐ ต่างมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยในอําเภอฮอด โดยมีระดับความสัมพันธ์ในทางบวกค่อนข้างสูง (3) จุดแข็งคือประชาชนส่วนใหญ่มีจิตสํานึกต่อส่วนรวม จุดอ่อนคือทรัพยากรในการดําเนินงานมีไม่เพียงพอทั้งในด้านบุคลากรและงบประมาณ ในด้านโอกาสคือเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนในการทํางาน อุปสรรคคือสภาพเศรษฐกิจตกตํ่า(4) ข้อเสนอแนะคือภาครัฐควรสนับสนุนทรัพยากรที่จําเป็นในการนํานโยบายประชารัฐด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติให้แก่หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ และชุมชนอย่างเพียงพอ ควรมีการประชาสัมพันธ์ เสริมสร้างความรู้ และความตระหนักให้แก่ชุมชน อย่างทั่วถึงส่งเสริมด้านเศรษฐกิจของชุมชนเพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง ควรนําโอกาสด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ประโยชน์ในการดําเนินนโยบายประชารัฐในด้านสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการบรรเทาสาธารณภัย--การมีส่วนร่วมของประชาชน.--ไทย--เชียงใหม่th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจth_TH
dc.titleการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่th_TH
dc.title.alternativePublic participation in disaster prevention and mitigation of Hot District in Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were (1) to study level of public participation in disaster prevention and mitigation of Hot District (2) to study factors relating public articipation in Hot District (3) to study strength, weakness, opportunity, and threat of public participation in disaster prevention and mitigation of Hot District (4) to recommend guidelines to enhance public participation in disaster prevention and mitigation of Hot District. This study was a survey research emphasizing on quantitative research. Population was divided into 2 groups, those were (1) population who resided in Hot District from 6 Sub-district totally 37,917 persons. Sample size was calculated by Taro Yamane formula with error .05 (2) 8 executives namely Hot’s sheriff and the executives of municipalities in Hot District, using purposive sampling method. Research tool was an interview form. Quantitative data analysis employed descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation. Inferential statistics employed t-test, one way ANOVA and Pearson correlation coefficient. For qualitative data analysis used inductive analysis and typological analysis. The results showed that (1) level of public participation in disaster prevention and mitigation of Hot District was at moderate level (2) environmental managing factor and public policy implementation positively correlated with public participation in disaster prevention and mitigation of Hot District at high level (3) strength was high conscious of people towards public, weakness was insufficiency of resource in human resource and budget, opportunity was modern helped reducing time and working processes, and threat was economic depression (4) recommendations were that the government should provide sufficient needed resources for implementation of environmental management to the government sectors in the area and communities. Government should provide public relation, knowledge, community recognition thoroughly. The Government sectors in Hot District should apply modern technology to support the implementation of environmental management with high attempt.en_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
158686.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons