Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8628
Title: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Public participation in disaster prevention and mitigation of Hot District in Chiang Mai Province
Authors: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อภิรักษ์ รุจิระภูมิ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การบรรเทาสาธารณภัย--การมีส่วนร่วมของประชาชน.--ไทย--เชียงใหม่
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยในอําเภอฮอด (2) ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในอําเภอฮอด (3) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการ มีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในอําเภอฮอด (4) เสนอแนวทางเสริมสร้างการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในอําเภอฮอด การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสํารวจ โดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอําเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่จาก 6 ตําบลรวม 37,917 คน และสุ่ม ตัวอย่างได้จํานวน 396 คน จากการใช้สูตรทาโร ยามาเน่ โดยกําหนดให้มีความคลาดเคลื่อนที่ระดับ .05 (2) ประชากรที่เป็นผู้บริหารในพื้นที่จํานวน 8 คน ซึ่งได้แก่นายอําเภอฮอด และนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ นในเขตอําเภอฮอด ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิง ปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ในการวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ใช้การทดสอบค่าทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย และการวิเคราะห์โดยการจําแนกชนิดข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในอําเภอฮอด อยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยด้านด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และปัจจัยการนํานโยบายไป ปฏิบัติด้านประชารัฐ ต่างมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ในอําเภอฮอด โดยมีระดับความสัมพันธ์ในทางบวกค่อนข้างสูง (3) จุดแข็งคือประชาชนส่วนใหญ่มีจิตสํานึกต่อ ส่วนรวม จุดอ่อนคือทรัพยากรในการดําเนินงานมีไม่เพียงพอทั้งในด้านบุคลากรและงบประมาณ ในด้านโอกาส คือเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนในการทํางาน อุปสรรคคือสภาพเศรษฐกิจตกตํ่า (4) ข้อเสนอแนะคือภาครัฐควรสนับสนุนทรัพยากรที่จําเป็นในการนํานโยบายประชารัฐด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมไป ปฏิบัติให้แก่หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ และชุมชนอย่างเพียงพอ ควรมีการประชาสัมพันธ์ เสริมสร้างความรู้ และความ ตระหนักให้แก่ชุมชน อย่างทั่วถึงส่งเสริมด้านเศรษฐกิจของชุมชนเพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง ควรนําโอกาสด้าน เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ประโยชน์ในการดําเนินนโยบายประชารัฐในด้านสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8628
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
158686.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons