กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8657
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนของสำนักชลประทานที่ 14
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the efficient practice of supporting section offficers regional irrigation officer 14
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชุติญา พรหมมาศ, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: สำนักชลประทานที่ 14--พนักงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
การทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนของสำนักชลประทานที่ 14 (2)เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนของ สำนักชลประทานที่ 14 (3) เสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่มี ประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน ของสำนักชลประทานที่ 14 กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่สายสนับสนุนในเขตสำนักชลประทานที่ 14 ประกอบด้วย ข้าราชการ จำนวน 34 คน ลูกจ้างประจำ จำนวน 57 คน พนักงานราชการ จำนวน 7 คน และ ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 55 คน รวมทั้งสิ้น 153 คน แต่เนื่องจากเป็นกลุ่มประชากรขนาดเล็ก ผู้ศึกษาค้นคว้าอิสระ จึงใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประเภทมาตร ประมาณค่าแบบลิเคร์ท แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการ วิเคราะห์ความแปรปรวนโดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า (1)โดยภาพรวมเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน มีระดับความคิดเห็นในปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ทั้ง 7 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น ด้านการปกครองและบังคับบัญชา มีความคิดเห็นที่เห็นด้วยอยู่ในระดับมาก (2) ลักษณะส่วนบุคคลใน ภาพรวม พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส อายุการทำงาน กลุ่มงานและรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพไม่ แตกต่างกัน ยกเว้น ตำแหน่งงานต่างกันมีระดับความคิดเห็นที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (3) เสนอแนะให้ผู้บริหารส่งเสริมปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพใน การปฏิบัติงานของ้บุคลากรในภาพรวมทุกด้านทั้ง 7 ด้าน สามารถนำไปพัฒนาปรับปรุงปัจจัยใน ด้านต่างๆ ทุกด้านทั้ง 7 ด้าน ให้ดียิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8657
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
124739.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons