กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8664
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์คังเซนเคนโกของผู้บริโภคในจังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Kangzen Kenko products perchasing behavior of consumers in Chanthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชิษณุนาถ บุญวีระธรรม, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--จันทบุรี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตลุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภคในจังหวัด จันทบุรี ที่ซื้อผลิตภัณฑ์คังเซน เคนโก (2) พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์คังเซน เคนโกของผู้บริโภคใน จังหวัดจันทบุรี (3) เปรียบเทียบความแตกต่างของส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์คังเซน เคนโก จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล (4) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์คังเซน เคนโกกับลักษณะส่วนบุคคล (5) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมทาง การตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ลังเซน เคนโก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี และเคยเลือกซื้อผลิตภัณฑ์คังเซน เคนโก จำนวน 350 ราย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ สถิติที่ใช้คือ แจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่า ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบความสัมพันธ์ ไคลสแควร์ และรีเกรสชิ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายู 31-40ปี อาชีพพนักงาน บริษัทเอกชน การศึกษาปริญญาตรี และรายได้เฉลี่ยตํ่ากว่า 10,000 บาท (2) เพื่อนและตนเองมีอิทธิพลต่อการซื้อมากที่สุด เลือกซื้อสำหรับตนเอง โดยซื้อนาน ๆ ครั้ง ในปริมาณ 1-5 ชิ้น ซื้อแต่ละครั้งไม่เกิน 1,000 บาท โดยซื้อผ่านนักธุรกิจคังเซน เคนโก ซื้อผลิตภัณฑ์ความงามมากที่สุด และเหตุผลที่ซื้อคือ ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพพิสูจน์ได้จริง (3) เปรียบเทียบความแตกต่างของส่วนประสมทางการตลาดจำแนกตามลักษณะส่วน บุคคลพบว่า เพศ การศึกษาสูงสุด และอาชีพมีระดับความสำคัญไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุ และรายได้เฉลี่ย มีความสำคัญแตกต่างกันทางสถิติที่ 0.05 (4) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์คังเซน เคนโกกับลักษณะส่วนบุคคล พบว่า มีสัมพันธ์กันทางสถิติที่ 0.05 โดยพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์คังเซน กับด้านเพศมีความสัมพันธ์กันน้อยที่สุด คือสัมพันธ์กันเพียง 5 รายข้อย่อย (5) ความสัมพันธ์ของปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์คังเซน พบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดใน ทุกรายข้อย่อยของทุกด้านมีความสัมพันธ์กันทางสถิติที่ 0.05 ยกเว้น 2 ข้อย่อยของต้านราคาที่ไม่สัมพันธ์ กับพฤติกรรมการซื้อด้านใดเลยคือ ราคาพิเศษสำหรับสมาชิก/นักธุรกิจ และปริมาณเพิ่มชิ้นแต่จ่ายเท่าเดิม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8664
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
127404.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons