Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8665
Title: | ความพร้อมทางทักษะในการเรียนตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง |
Other Titles: | Learning skill readiness based on Thailand 4.0 framework of Prathom Suksa VI students in Schools under Ranong Primary Education Service Area Office |
Authors: | วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา สุภาพร หาญสนาม, 2509- ผู้แต่ง. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี ทักษะการเรียน--ไทย--ระนอง การเตรียมพร้อม--การศึกษาและการสอน การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความพร้อมทางทักษะในการเรียนตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางทักษะในการเรียนตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาระนอง จำแนกตาม เพศ อาชีพของผู้ปกครอง การศึกษาของผู้ปกครอง รายได้ต่อเดือนของผู้ปกครอง ฐานะทางเศรษฐกิจ และผลการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง จำนวน 324 คน คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรการคำนวณของยามาเน่ สุ่มแบบหลายชั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความพร้อมทางทักษะในการเรียนตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง มีความพร้อมทางทักษะในการเรียนตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ด้านทักษะคณิตศาสตร์ ด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และด้านการใช้เทคโนโลยี อยู่ในระดับปานกลาง และ (2) นักเรียนที่มี เพศสถานภาพ อาชีพรายได้ของครอบครัวต่อเดือน การศึกษา ของบิดามารดา และผลการเรียนที่ต่างกัน มีความพร้อมทางทักษะทางการเรียนตามแนวทางไทย แลนด์ 4.0 รายด้านทุกด้านและโดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8665 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_156594.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License