Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8667
Title: | การประเมินหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 |
Other Titles: | Evaluation of primary level mathematics learning area of the basic education core curriculum B.E.2551, as implemented in schools under the office of Uttaradit Primary Education Service Area 1 |
Authors: | สมคิด พรมจุ้ย พิณนภัส ตลอดพงษ์, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปรีชา เนาว์เย็นผล |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา-- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การประเมินหลักสูตร การศึกษาขั้นประถม--ไทย--หลักสูตร--การประเมิน |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ในด้านความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้น ด้านความเหมาะสมของกระบวนการ และ ด้านประสิทธิผลของหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 126 คน ครูผู้สอน จำนวน 289 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 365 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 365 คน รวมทั้งสิ้น 1,145 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ แบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) ความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตร ได้แก่ ครูผู้สอน สื่อและแหล่งเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนงบประมาณอยู่ในระดับปานกลาง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (2) ความเหมาะสมด้านกระบวนการของหลักสูตร ได้แก่ การบริหารจัดการหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน (3) ด้านประสิทธิผลของหลักสูตร ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (NT) ต่ำกว่าระดับสังกัดและระดับประเทศ ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (O-NET) สูงกว่าระดับสังกัดและระดับประเทศ ผ่านเกณฑ์การประเมิน เจตคติของผู้เรียนต่อวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 79.18 ผ่านเกณฑ์การประเมิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนจากการเรียนคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 93.42 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อสมรรถนะของผู้เรียน อยู่ในระดับดี ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนอยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 29.37 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8667 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
138435.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License