กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8710
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The problems of filing personal income tax
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุขุมาลย์ ชำนิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณฐวรรณ์ สุขสวัสดิ์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องปัญหาการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สรุป หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเสียภาษีเงินไต้บุคคลธรรมดา (2) วิเคราะห์ปัญหาการเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ ศึกษาข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิไต้จากข้อมูลที่เป็นปัญหาในการปฏิบัติงานและแหล่งทุติยภูมิได้จากแนวคิดทฤษฎี เอกสารทางวิชาการ ประมวลรัษฎากร ผลงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องรวมถึงการค้นคว้าข้อมูลในเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับคำวินิจฉัยกรมสรรพากรและคำพิพากษาฎีกา ผลการศึกษาพบว่า (1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีทางตรง จัดเก็บจากเงินได้ ของบุคคลธรรมดา ฐานภาษีเรียกว่าเงินได้สุทธิ คำนวณได้จากการนำเงินได้พึงประเมินตลอดทังปี ภาษีไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนคงเหลือเป็นเงินได้สุทธิแล้วจึงนำมาคำนวณภาษีตาม อัตราก้าวหน้าและกรณีมีเงินได้พึงประเมินตาม ม.40(2)-(8) ตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป ให้ใช้ วิธีการคำนวณภาษีจากฐานเงินได้พึงประเมินด้วยอีกหนึ่งวิธี โดยนำเงินได้ทั้งหมดคูณด้วย 0.005 แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณภาษีทั้งสองวิธีมาเปรียบเทียบกันและให้ชำระภาษีตามจำนวนที่ มากกว่า สำหรับวิธีการเสียภาษีมีสามวิธี คือ การเสียภาษีโดยวิธีประเมินตนเอง การเสียภาษีโดยวิธี หักภาษี ณ ที่จ่ายและการเสียภาษีโดยการประเมินจากเจ้าพนักงานประเมิน (2) วิเคราะห์ปัญหาการเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาพบว่า 1) ปัญหาเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่เสียภาษีกรณีภาระภาษีของสามีภริยา ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เงินได้ของภริยาถือเป็นเงินได้ของสามีเป็นการสร้างภาระให้แก่ผู้เสียภาษี เพราะทำให้จำนวนเงินได้พึงประเมินเพิ่มขึ้นภาษีที่คำนวณไต้จึงมีจำนวนสูงขึ้นด้วย 2) ปัญหาเกี่ยวกับการจัดประเภทเงินได้พึงประเมิน และการหักค่าใช้จ่ายเนื่องจากกฎหมายกำหนดให้แบ่งเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภท ซึ่งเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภทกฎหมายกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายแตกต่างกัน จึงทำให้เกิดความสับสนในการแยกประเภทของเงินได้และจะส่งผลทำให้หักค่าใช้จ่าย ผิดพลาดไต้ 3) ปัญหาเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นและการหักค่าลดหย่อน เนื่องจากผู้เสียภาษียังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนด ทำให้เกิดการคำนวณภาษีผิดพลาดส่งผลให้ผู้เสียภาษีถูกประเมินภาษีเพิ่มเติม ซึ่งอาจต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง และทางอาญา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8710
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112615.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons