Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8713
Title: การรับรู้วัฒนธรรมองค์การของพนักงานบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่
Other Titles: The perecption of organizational culture of the CAT Telecom Public Company Limited : Head Office
Authors: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชุมพล บุญเอี่ยม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: บริษัท กสท โทรคมนาคม
วัฒนธรรมองค์การ--ไทย
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การของพนักงาน บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) สำนักงานใหญ่ (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ที่ส่งผลต่อระดับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การของพนักงาน บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)สำนักงานใหญ่ (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการรับรู้วัฒนธรรมองค์การของพนักงาน บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นพนักงานที่ปฏิบัติงานที่สำนักงานใหญ่ จำนวน 339 คน เครื่อง มือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.83 สถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยแบบที และแบบเอฟ และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการศึกษาพบว่า (1) พนักงานมีการรับรู้วัฒนธรรมองค์การลักษณะต่างๆในระดับ ค่อนข้างสูง ( X = 3.56 ) (2) ปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อายุงาน ตำแหน่งงาน พบว่าพนักงานเพศหญิงมีระดับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ ที่มีลักษณะความเป็นกลุ่มนิยมและวัฒนธรรมองค์การที่มีลักษณะมุ่งวัตถุและมุ่งคุณภาพชีวิตสูงกว่าพนักงานเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าพนักงานที่มีช่วงอายุไม่เกิน 30ปื มีระดับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่มีลักษณะความเป็นปัจเจกนิยมสูงกว่ากลุ่มพนักงานที่มีช่วงอายุ 41-50ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 พนักงานที่มีตำแหน่งงานเป็นผู้บริหารระดับต้นมีระดับการรับรู้ในวัฒนธรรมองค์การที่มีลักษณะความเลื่อมลํ้าของอำนาจสูงกว่าพนักงานที่มีตำแหน่งงานเป็นผู้บริหารระดับกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ฝ่ายบริหารควรสนับสนุนให้เพศหญิงและเพศชายมีความเท่าเทียมกัน และลดความเป็นปัจเจกนิยมของพนักงานที่มีช่วงอายุไม่เกิน 30ปีลง ด้วยการส่งเสริมให้พนักงานทำงานเป็นกลุ่มให้รางวัลตอบแทนเท่าเทียมทั้งกลุ่ม และควรนำเอาเรื่องการรับรู้วัฒนธรรมองค์การเป็นเงื่อนในการพิจารณาสรรหาบุคลากร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8713
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
115766.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.44 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons