Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8723
Title: คุณภาพการบริการคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ของสำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรมศุลกากร
Other Titles: Service quality on drawback under section 19 bis of Tax Incentives Bureau, Customs Department
Authors: ปภาวตี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปราณี ทาทอง, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: กรมศุลกากร--การบริหาร
กรมศุลกากร--บริการลูกค้า
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
การขอคืนภาษีอากร
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1)ระดับคุณภาพการบริการคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิของกรมศุลกากร (2) ปัญหาในการให้บริการคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิของกรมศุลกากร และ (3) แนวทางในการเสริมสร้างคุณภาพการบริการคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิของกรมศุลกากร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการที่เป็นผู้นำเข้าหรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากผู้นำเข้าจำนวน 316 ตัวอย่าง แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติในรูปความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ประกอบการ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพด้าน กระบวนการบริการอยู่ในระดับน้อย โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ความถูกต้อง รองลงมาได้แก่ ความทันสมัย ความสะดวก ความประหยัด และ ความรวดเร็ว ตามลำคับ ในส่วนของคุณภาพด้านผู้ให้บริการ ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก้ ความรู้ ความสามารถ รองลงมาได้แก่ ลักษณะของผู้ให้บริการ และความรับผิดชอบตามลำตับ (2) ปัญหาและอุปสรรคในการคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ คือ เข้าหน้าที่ปฏิบัติงานช้าและแนวทางการปฏิบัติงานของแต่ละฝ่ายงาน ไม่เหมือนกันทำให้ขาดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่ให้บริการน้อย ไม่เพียงพอต่อปริมาณการทำธุรกรรม โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตรวจสอบงานคืน อากร และอุปกรณ์ เครื่องมือ และคอมพิวเตอร์ให้บริการน้อยและไม่ทันสมัยทำให้เกิดความ ล่าช้าในการเช็คข้อมูล (3) ผู้ประกอบการมีข้อเสนอแนะเพื่อเสริมสร้างคุณภาพการบริการตื่นอากร ตามมาตรา 19 ทวิ ได้แก่ ควรเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและสามารถแก้ไขปัญหาได้ รวมทั้งปรับปรุงขั้นตอนการทำงานที่ทำให้เกิดความล่าช้า โดยมีการกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอนให้ชัดขึ้นและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และข้อกฎหมายแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนดไว้และเป็นแนวทางเดียวกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8723
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_128445.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.09 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons