กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8746
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของพนักงานต่อการสื่อสารการจัดการองค์ความรู้ : กรณีศึกษาฝ่ายปฏิบัติการภาคกลาง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Employee opinions toward knowledge management communication : a case study of Central Region Operation Division, Electricity Generating Authority of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนีย์ ก่อคุณากร, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
การบริหารองค์ความรู้
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจของพนักงานต่อการ จัดการองค์ความรู้ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับความคิดเห็นที่มีต่อการ สื่อสารการจัดการองค์ความรู้ (3) เสนอแนะแนวทางในการจัดการองค์ความรู้ที่ตอบสนองการเรียนรู้ ของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นพนักงานของฝ่ายปฏิบัติการภาดกลาง จำนวน 150 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า (1) พนักงานฝ่ายปฏิบัติการภากกลาง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทย มีระดับความรู้ความเข้าใจต่อการจัดการองค์ความรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 3.68) และ มีความคิดเห็นต่อการสื่อสารการจัดการองค์ความรู้ แบ่งเป็นด้านข่าวสารการจัดการองค์ความรู้ มีความ คิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง (X - 3.36) ด้านการเข้ารับการอบรมการ จัดการองค์ความรู้ มี ความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (X - 3.63) และด้านเทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ มีความ คิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (X - 3.80) (2) การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วน บุคคลกับความคิดเห็นที่มีต่อการสื่อสารการจัดการองค์ความรู้ของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการภาคกลาง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พบว่า ในภาพรวมไม่มีความสัมพันธ์กัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าระดับการศึกษา ที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นทางการสื่อสารการจัดการความรู้ที่ แตกต่างกัน (3) ข้อเสนอแนะ ฝ่ายพัฒนาบุคลากร ควรเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ก่อให้เกิดความร่วมมือและนำไปสู่การพัฒนา คุณภาพแบบบูรณาการ ค้านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้จาก ผู้มีประสบการณ์หลากหลายวิชาชีพเพื่อให้ทุกคนในองค์กรได้รับรู้ข้อมูล และมีส่วนร่วม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8746
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
115685.pdf5.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons