Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8755
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัทคาลโซนิคคันเซประเทศไทยจำกัด
Other Titles: Factors affecting work motivation of employees in Calsonic Kansei (Thailand) Co,.ltd.
Authors: ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ
สุรศักดิ์ ภาษิต, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การจูงใจในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานฯ (2) เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานฯ (3) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงหรือแก้ไขถึงปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน บริษัท คาลโซนิคคันเซ ประเทศไทยจำกัด กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริษัท คาลโซนิคกันเซประเทศไทย จำกัดจำนวน 264 ตัวอย่าง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามแบบมีมาตรวัดเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้การแจกแจงแบบที และการวิเคราะห์ความเปรปรวนทางเดียว กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า (1) พนักงานบริษัทคาลโซนิคกันเซประเทศไทยจำกัดมีระดับแรงจูงใจในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.44 (2) ปัจจัยลักษณะทางด้านบุคคล อันได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ตำแหน่ง มีปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานแตกต่างกัน ปัจจัยส่วนบุคคลค้าน สถานภาพการสมรส หน่วยงานที่สังกัด ประเภทการผลิตชิ้นส่วนมีปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อศึกษารายด้านพบว่า ปัจจัยด้านตัวงาน ด้านโอกาสก้าวหน้า ด้านผู้บังกับบัญชา ด้านผู้ร่วมงาน และด้านสภาพการทำงาน เพศชายมีแรงจูงใจมากกว่าเพศหญิง ผู้ที่มีสถานภาพสมรส มีแรงจูงใจมากกว่าผู้ที่มีสถานภาพโสด และตัวอย่างที่มีตำแหน่งระดับบริหาร มีแรงจูงใจในการทำงานค้านผลประ โยชน์ตอบแทน สูงกว่าทุกระดับ (3) บริษัทฯ ควรแก้ไขและปรับปรุงปัจจัยด้านผลประ โยชน์ตอบแทน ซึ่งเป็นด้านที่มีแรงจูงใจในการทำงานต่ำที่สุดใน 6 ด้าน โดยกวรปรับปรุงกฎเกณฑ์การขึ้นเงินเดือนให้เหมาะสมและยุติธรรม อีกทั้งการปรับปรุงสวัสดิการต่างๆ ให้เหมาะสมกับตำแหน่งและงานที่ทำด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8755
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
127186.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons