Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/877
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพูลสุข หิงคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา-
dc.contributor.advisorสุภมาส อังศุโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา-
dc.contributor.authorรุ่งนภา สูตินันท์โอภาส, 2513--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-22T16:50:39Z-
dc.date.available2022-08-22T16:50:39Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/877-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การบริหารจัดการแบบ มุ่งผลสัมฤทธิ์ (2) สัมฤทธิผลตามภารกิจที่กำหนด และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแบบมุ่ง ผลสัมฤทธิ์กับสัมฤทธิผลตามภารกิจที่กำหนด ตามการรับรู้ของอาจารย์ที่ปฏิบัติงาน ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์พยาบาลที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรม ราชชนก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 291 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างเพื่อวัดการบริหาร จัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ และ วัดสัมฤทธิผลตามภารกิจที่กำหนด ตรวจสอบความตรงตามเนี้อหาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ทุกข้อมีค่าความสอดคล้องเกิน .75 ความเที่ยง มีค่าเท่ากับ .96 และ .94 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอล ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านกลยุทธ์ ด้านระบบ และ ด้านโครงสร้าง (2) สัมฤทธิผลตามภารกิจที่ กำหนด โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม ด้านการฝึกอบรม และ ด้านการสอน ส่วนสัมฤทธิผลที่อยู่ในระดับปานกลางและมีค่าเฉลี่ยน้อย ที่สุดคือ ด้านการผลิตผลงานวิชาการ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับ สัมฤทธิผลตามภารกิจที่กำหนด พบว่าค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอล มี 3 ชุด มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย ชุดที่ 1 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลสูงสุดเท่ากับ .811 สามารถอธิบายความสัมพันธ์ได้ร้อยละ 65.8 ความสัมพันธ์นี้เกิดจากตัวแปรแต่ละด้านที่มีค่าน้ำหนักความสำคัญเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้การบริหารจัดการ แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ได้แก่ ด้านทักษะ ด้านบุคลากร ด้านระบบ ด้านโครงสร้าง ด้านคำนิยมร่วม ด้านกลยุทธ์ และ ด้านแบบของผู้นำที่มีค่าเท่ากัน ส่วนสัมฤทธิผลตามภารกิจที่กำหนด ได้แก่ ด้านการฝึกอบรม ด้านการ บริการวิชาการแก่สังคม ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการบริหารจัดการอื่น (เกี่ยวกับการสอน) ด้าน การสอน และ ด้านการผลิตผลงานวิชาการth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.format.extent[ก]-ฎ, 123 แผ่น : ภาพประกอบ-
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceReformatted digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectวิทยาลัยพยาบาล--การบริหารth_TH
dc.subjectพยาบาล--ภาระงานth_TH
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับสัมฤทธิผลตามภารกิจที่กำหนด ตามการรับรู้ของอาจารย์ที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุขth_TH
dc.title.alternativeRelationships between results based management and results related duties as perceived by nursing instructors of nursing colleges under Praboromarajchanok Institute, the Ministry of Public Health รุ่งนภาth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.degree.grantorสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this descriptive research were: (1) to examine the perceptions of nursing instructors on result based management and results related duties and (2) to find between result based management and results related duties in nursing colleges under Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health. The sample consisted of 291 nursing instructors of nursing colleges under Praboromarajchanok Institute, the Ministry วf Public Health. This group was selected by proportional stratified random sampling technique .The research instruments were questionnaires and consisted of two parts: result based management and results related duties. Content validity was tested by five experts ,while the internal consistency coefficient alphas of the first and the second parts were .96 and .94 respectively. The statistical devices used for data analysis were both descriptive statistics(frequency, percentage, mean, standard deviation) and canonical correlation. The research findings were as follows: (1) The nursing instructors rated result based management at the high level and the first three highest were strategy, system, and structure. (2) They also rated results related duties at the high level and the first three highest were cultural conservation, training, and teaching. (3) The canonical correlation between results based management and results related duties showed that three sets were statistically significant at the .05 level. The strongest coefficient of canonical correlation found in the first set wras .81 which indicated a relationship of 65.8 percent. Moreover, two sets of canonical correlation loading from high to low were revealed .The first was skill, staff, system, structure, share values, strategy and style. Whereas second was training, community services, cultural conservation, teaching and learning administration , teaching and academic work productionen_US
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
102152.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.37 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons