กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/877
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับสัมฤทธิผลตามภารกิจที่กำหนด ตามการรับรู้ของอาจารย์ที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationships between results based management and results related duties as perceived by nursing instructors of nursing colleges under Praboromarajchanok Institute, the Ministry of Public Health รุ่งนภา |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พูลสุข หิงคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา สุภมาส อังศุโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา รุ่งนภา สูตินันท์โอภาส, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยพยาบาล--การบริหาร พยาบาล--ภาระงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การบริหารจัดการแบบ มุ่งผลสัมฤทธิ์ (2) สัมฤทธิผลตามภารกิจที่กำหนด และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแบบมุ่ง ผลสัมฤทธิ์กับสัมฤทธิผลตามภารกิจที่กำหนด ตามการรับรู้ของอาจารย์ที่ปฏิบัติงาน ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์พยาบาลที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรม ราชชนก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 291 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างเพื่อวัดการบริหาร จัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ และ วัดสัมฤทธิผลตามภารกิจที่กำหนด ตรวจสอบความตรงตามเนี้อหาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ทุกข้อมีค่าความสอดคล้องเกิน .75 ความเที่ยง มีค่าเท่ากับ .96 และ .94 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอล ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านกลยุทธ์ ด้านระบบ และ ด้านโครงสร้าง (2) สัมฤทธิผลตามภารกิจที่ กำหนด โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม ด้านการฝึกอบรม และ ด้านการสอน ส่วนสัมฤทธิผลที่อยู่ในระดับปานกลางและมีค่าเฉลี่ยน้อย ที่สุดคือ ด้านการผลิตผลงานวิชาการ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับ สัมฤทธิผลตามภารกิจที่กำหนด พบว่าค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอล มี 3 ชุด มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย ชุดที่ 1 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลสูงสุดเท่ากับ .811 สามารถอธิบายความสัมพันธ์ได้ร้อยละ 65.8 ความสัมพันธ์นี้เกิดจากตัวแปรแต่ละด้านที่มีค่าน้ำหนักความสำคัญเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้การบริหารจัดการ แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ได้แก่ ด้านทักษะ ด้านบุคลากร ด้านระบบ ด้านโครงสร้าง ด้านคำนิยมร่วม ด้านกลยุทธ์ และ ด้านแบบของผู้นำที่มีค่าเท่ากัน ส่วนสัมฤทธิผลตามภารกิจที่กำหนด ได้แก่ ด้านการฝึกอบรม ด้านการ บริการวิชาการแก่สังคม ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการบริหารจัดการอื่น (เกี่ยวกับการสอน) ด้าน การสอน และ ด้านการผลิตผลงานวิชาการ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/877 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
102152.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.37 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License