Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8795
Title: ทัศนคติและปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจเข้ารับการฝังเข็ม : ศึกษาความคิดเห็นผู้รับบริการทางการแพทย์ใน งามวงศ์วานการแพทย์คลินิกเวชกรรม
Other Titles: Attitude and factors affecting intention towards acupuncture therapy : a case of Ngamwongwan Medical Clinic
Authors: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
โชติศักดิ์ เจนพาณิชย์, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: งามวงศ์วานการแพทย์ คลินิกเวชกรรม--บริการทางการแพทย์
การฝังเข็ม
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาทัศนคติต่อการฝังเข็มของผู้รับบริการทางการแพทย์ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจเข้ารับการฝังเข็ม (3) เปรียบเทียบทัศนคติต่อการฝังเข็มจำแนกตาม ลักษณะข้อมูลส่วนบุคคล (4) เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจเข้ารับการฝังเข็มจำแนกตามลักษณะ ข้อมูลส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้รับบริการทางการแพทย์ของงามวงศ์วานการแพทย์ ที่มารับบริการระหว่าง 1 มกราคม 2555 -31 ธันวาคม 2555 เป็นบุคคลสัญชาติไทย อายุระหว่าง 25-69 ปี ไม่เคยได้รับการฝังเข็มมาก่อน จำนวน 140 คน การศึกษาทำโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวม ข้อมูล ตัวแปรอิสระ คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ตัวแปรตาม คือ ทัศนคติต่อการฝังเข็มและปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจเข้ารับการฝังเข็ม ส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ให้แก่ประชากรที่ศึกษาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2556 มีแบบสอบถามส่งกลับคืน 112 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 80 แบบสอบถามที่ส่งกลับคืนมาถูกคัดออกจำนวน 9 ฉบับ เนื่องจาก 4 ฉบับตอบว่าเคยได้รับการฝังเข็มมาก่อน และ 5 ฉบับไม่ตอบแบบสอบถาม นำแบบสอบถามที่เหลือ 103 ฉบับ มาวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลข คณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่า (1) ภาพรวมของประชากรที่ศึกษามีระดับทัศนคติเชิงบวกต่อการปังเข็ม (2) ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อความตั้งใจเข้ารับการฝังเข็ม ได้แก่ ความเจ็บปวด ค่าใช้จ่ายในการฝังเข็ม การมีบุคคลที่สามออกค่าใช้จ่ายให้ที่ตั้งของสถานพยาบาล ชื่อเสียงของสถานพยาบาลและชื่อเสียงของแพทย์ ในภาพรวมมีผลต่อความตั้งใจเข้ารับการฝังเข็มระดับสูง (3) เมื่อเปรียบเทียบทัศนคติต่อการฝังเข็มจำแนก ตามลักษณะข้อมูลส่วนบุคคลพบว่า ประวัติครอบครัวมีผลต่อทัศนคติต่อการฝังเข็มในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจเข้ารับการฝังเข็มจำแนก ตามลักษณะข้อมูลส่วนบุคคลพบว่า ข้อมูลด้านสุขภาพมีผลต่อปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจเข้ารับการฝังเข็ม ในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8795
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
134670.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.39 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons