Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8812
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับประชากรวัยแรงงาน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
Other Titles: Development of a model for provision of non-formal and education for working age population in Khlong Thom District, Krabi Province
Authors: ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สารีพันธุ์ ศุภวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
โสภา สมหวัง, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบ -- วิทยานิพนธ์
การศึกษานอกระบบโรงเรียน -- การจัดการ
แรงงาน -- การศึกษา
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษานอกระบบของประชากรวัย แรงงาน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ (2) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับประชากรวัยแรงงาน (3) ตรวจสอบรูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับประชากรวัยแรงงาน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง เป็น ประชากรวัยแรงงานอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา ใน การศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูอาสาสมัคร ครู กศน. ตำบล และนักศึกษา จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ประเด็นการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพการจัดการศึกษานอกระบบของประชากรวัยแรงงานอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา สังคมและชุมชน พบว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก ส่วนการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ มีความสำคัญอยู่ใน ระดับปานกลาง (2) รูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับประชากรวัยแรงงานอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ที่ พัฒนา มีดังนี้ (ก) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการวิเคราะห์ความเหมาะสมโดยคำนึงถึงความต้องการจำเป็นของ ผู้เรียน ใช้รูปแบบของชั้นเรียน และ การใช้ชุดการเรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล กิจกรรมจัดโดย การเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ สื่อที่มีความเหมาะสม คือ อินเทอร์เน็ต สื่อวีดีทัศน์ ประเมินผลจากการปฏิบัติ และ ประเมิน จากผลงาน (ข) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ โดยคำนึงถึงการนำไปใช้ประโยชน์และเป็นไปตามวิถีชีวิตของ ชุมชน ระยะเวลาของหลักสูตรจำนวน 40 ชั่วโมง จัดในช่วงบ่ายของวัน สื่อที่มีความเหมาะสม คือ สื่อวีดีทัศน์ และ การสาธิต ประเมินผลจากการปฏิบัติ และ ประเมินจากผลงาน (ค) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต โดยคำนึงถึง ความต้องการเรียนรู้ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของชุมชน สังคม ทั้งทางกายภาพ และ ชีวภาพ มีการสำรวจความ ต้องการ และ จัดให้ตามความเหมาะสม จัดในรูปแบบของฐานการเรียนรู้ สื่อที่มีความเหมาะสม คือ อินเทอร์เน็ต สื่อวี ดีทัศน์ ประเมินผลจากการปฏิบัติ และ ประเมินจากผลงาน (ง) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนสังคม โดยคำนึงถึง การบูรณาการความรู้ใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพา ตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจัดในรูปของฐานการเรียนรู้ และมีกิจกรรมหลังจากการอบรม สื่อที่มีความ เหมาะสม คือ อินเทอร์เน็ต สื่อวีดีทัศน์ การประเมินผลจากการปฏิบัติ และ ประเมินจากผลงาน และ (3) การตรวจสอบ ความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8812
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146537.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons