กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/881
ชื่อเรื่อง: บทบาททางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์กรณีศึกษาเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The political role of special interest groups : a case study of the Thai Network for people living with HIV/AIDS
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รุ่งพงษ์ ชัยนาม
กีรติ นิธิกุล, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ยุทธพร อิสรชัย
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย
ยาเสพติด
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาททางการเมืองของเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาททางการเมืองของเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย (3) ผลจากการดำเนินบทบาททางการเมืองของเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกแบบ เฉพาะเจาะจง ได้แก่ สมาชิกในเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทยโดยตรง และผู้เชี่ยวชาญด้านเอชไอวี/เอดส์ ที่ทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทยในฐานะของพันธมิตรทั้งจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 21 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิเคราะห์ โดยการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทยได้มีบทบาททางการเมืองที่ชัดเจนในประเด็นสำคัญคือ การเรียกร้องสิทธิ์ในการรักษาของผู้ป่วยและการบังคับใช้มาตราการบังคับใช้สิทธิ์ตามกฎหมายสิทธิบัตร รวมทั้งการเรียกร้องสิทธิ์ในการไม่ใช้การตรวจเลือดเป็นเงื่อนไขในการรับบุคคลเข้าทำงาน (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการทางการเมืองของเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทยคือการยอมรับจากสังคมวัฒนธรรมการเมือง และสื่อในด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินบทบาททางการเมืองของเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอ วี/เอดส์ ประเทศไทย ดังนี้ นโยบายของรัฐ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรและเอ็นจีโอ (3 ) ผลจากการดำเนินงาน คือ มีการผลักดันให้เกิดการบรรจุยาต้านไวรัส ลงไปในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การบังคับใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ์และการเลิกบังคับ ตรวจเอดส์ในที่ทำงานซึ่งได้บรรจุอยู่ในแผนการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์แห่งชาติ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/881
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib124385.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons