Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8828
Title: การรับรู้ของพนักงานต่อการเปลี่ยนแปลงองค์การ : ศึกษาฉพาะกรณีการไฟ้ฟ้าส่วนภูมิภาคสำนักงานใหญ่
Other Titles: Perception of employees on organization changing : a case study of Provincial Electricity Authority Head Office
Authors: ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ
สุกิจ ชิดไทย, 2497-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค--พนักงาน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การรับรู้
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
การบริหารองค์การ
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษากันคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การรับรู้ของพนักงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงองค์การ (2) หาช่องทางในการสื่อสาร การเปลี่ยนแปลงองค์การให้กับพนักงาน (3)เป็นแนวทางการเพิ่มระดับการรับรู้และความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงองค์การให้กับพนักงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทุกระดับ ให้เกิดการยอมรับ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือพนักงานของ กฟก.ในสำนักงานใหญ่ จำนวน 3,538 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์ไคสแควร์ (Chi Square) โดยใช้ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของพนักงานมีความสัมพันธ์กับการรับรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงองค์การ (2) ระดับการรับรู้ของพนักงานในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ถึง มากที่สุด ร้อยละ68 และการรับรู้ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ไม่แน่ใจถึงไม่มีความรู้ร้อยละ52 ซึ่งเป็นผลมาจากคุณภาพของข่าวสารที่ได้รับเพียงบางส่วน และไม่ชัดเจน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างช่องทางการรับรู้ และคุณภาพของข่าวสารกับระดับการรับรู้มีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้อย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นประเด็นความถี่ในการรับรู้ข่าวสารและความต้องการช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารไม่มีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้ อย่างมีนัยสำคัญข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาครั้งนี้ ควรเพิ่มความถี่ในการทำประชาสัมพันธ์และปรับปรุงคุณภาพของข่าวสารให้ชัดเจน ถูกต้องสมบูรณ์ และสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายเพื่อให้สามารถสื่อสารสู่พนักงานได้อย่างทั่วถึงเพิ่มมากขึ้น และทำการศึกษาเพิ่มเติมในตัวเเปรอื่นๆ เช่น การยอมรับการเปลี่ยนแปลงองค์การที่อาจมีความสัมพันธ์กับการรับรู้, ความเข้าใจ, ทัศนติ หรือความพึงพอใจ และควรศึกษาวิจัยเปรียบเทียบในลักษณะก่อน และหลังการเปลี่ยนแปลงองค์การ เพื่อที่จะได้ทราบข้อเปรียบเทียบเพื่อนำมาปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8828
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
112561.pdf5.04 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons