Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8858
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorจักรี ศิลปสถาปน์-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-08-15T06:32:51Z-
dc.date.available2023-08-15T06:32:51Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8858-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการ ตํารวจผู้ปฏิบัติงานด้านสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองยะลา และสถานีตํารวจภูธรยะหา จังหวัดยะลา (2) ศึกษาปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทํางาน ของข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงานด้านสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองยะลา และ สถานีตํารวจภูธรยะหา จังหวัดยะลา และ (3) เพื่อเป็นแนวทางในการแกไข้ปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพชีวิตการทํางาน ต่อไป การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงาน ด้านสอบสวนของสถานีตํารวจภูธรเมืองยะลา และสถานีตํารวจภูธรเมืองยะหา จังหวัดยะลารวมจํานวน 73 คน เก็บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่พัฒนาขึ้นจากแนวคิดคุณภาพชีวิตการทํางานของวอลตัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงานด้านสอบสวนสถานี ตํารวจภูธรเมืองยะลา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจําแนกเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความ พึงพอใจในงาน และอาชีพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุด ได้แก่ ด้านความเครียดจากงานที่ทําและคุณภาพชีวิตการทํางานของ ข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงานด้านสอบสวนสถานีตํารวจภูธรยะหา จังหวัดยะลา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจําแนก เป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความพึงพอใจในงาน และอาชีพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุด ได้แก่ ด้าน ตําแหน่งงาน (2) ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทํางาน ตามแนวคิดของวอลตัน ทั้ง 8 ปัจจัย มีความสัมพันธ์ทางบวก กับคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงานด้านสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองยะลา ในระดับปานกลาง และน้อยและมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงานด้านสอบสวนสถานี ตํารวจภูธรยะหา จังหวัดยะลา ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงานด้าน สอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองยะลา มีคุณภาพชีวิตการทํางานโดยรวมและรายด้าน ตํ่ากว่าข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงาน ด้านสอบสวนสถานีตํารวจภูธรยะหา จังหวัดยะลา (3) ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงาน ด้านสอบสวนสถานีตํารวจ ภูธรเมืองยะลาและสถานีตํารวจภูธรยะหา จังหวัดยะลา สามารถดําเนินการได้ดังนี้ 1) พิจารณาปรับ ค่าตอบแทนต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมกับปริมาณงานรายคดี 2) ให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเบิกเงินค่าใช้สอยต่าง ๆ ได้ตลอดจนสนับสนุนยานพาหนะหุ้มเกราะที่ใช้ในการปฏิบัติงาน 3) พัฒนาความรู้และทักษะด้านงานสอบสวน ให้เป็น ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 4) ปรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลื่อนตําแหน่งให้มีความเป็นธรรมตามผลการปฏิบัติงาน และ จัดทําเส้นทางสายอาชีพที่แน่นอนของผู้ปฏิบัติงานด้านสอบสวน 5) ผู้บังคับบัญชาควรให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา ของพนักงานสอบสวน 6) ลดขั้นตอนและเอกสารการสอบสวนที่ไม่จําเป็น 7) จัดสรรและปรับเกลี่ยบุคลากรให้เพียงพอ ต่อการปฏิบัติงานอยู่เสมอ ตามปริมาณงานที่เกิดขึ้นจริง 8) ผู้บังคับบัญชารับผิดชอบประสานงาน และขอความร่วมมือ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานสอบสวนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตการทำงาน--ไทย--ยะลาth_TH
dc.subjectข้าราชการตำรวจ--ความพอใจในการทำงานth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจth_TH
dc.titleคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานด้านสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองยะลา และสถานีตำรวจภูธรยะหา จังหวัดยะลาth_TH
dc.title.alternativeQuality of work life of the inquiry official in the Yala City Police Station and Yaha Police Station in Yala Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were: (1) to compare level of quality of work life between the inquiry police officers in the Yala city police station and Yaha police station in Yala province. (2) to study factor related to the quality of work life of the inquiry police officers in the Yala city police station and Yaha police station in Yala province, and; (3) to recommend approaches to solve, improve and develop the quality of work life in the future. This study was a survey research. Population was 73 inquiry police officers in the Yala city police station and Yaha police station. Data was collected by using a questionnaire which was designed based on the concept of quality of work life of Walton. Statistics used for data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation and correlation coefficient of Pearson. The results showed that (1) an overall image of level of quality of work life of inquiry police in the Yala city police station was at moderate level. Classified each aspect, it showed that the highest mean was job and career satisfaction, whereas the lowest mean was work stress. An overall image of level of quality of work life of those Yaha police station was at moderate level as well. Classified each aspect, it revealed that the highest mean was job and career satisfaction, and the lowest mean was job position (2) 8 types of quality of work life factors according to Walton’s concepts were positively correlated with the quality of work life of inquiry police officers in the Yala city at moderate and low level. And they were positively correlated with the quality of work life of those in Yaha police station at moderate level at the statistical significance at .05 level. The inquiry police officers in Yala city had overview image and in each aspect of quality of work life less than those in Yaha police station. (3) Recommendation approaches to develop the quality of work life of inquiry police officers in the Yala city police station and Yaha police station were: 1) the adjustment appropriate remuneration with the number of cases 2) the requisition of expenditures and supporting armored vehicles used in the operation 3) the development of knowledge and skills in inquiry to be a specialized 4) the adjustment merit criteria for rank promotion based on the performance and the creativity of certain career path for the inquiry police officers 5) assistance from the commanders in supporting and resolving problems of inquiry police officers 6) the reduction operating procedure to necessary steps and documents. (7) the regular allocation and rotation to sufficient personnel at real situation (8) the responsibility and coordination of commanders with relevant authorities to solve problems and obstacles in the operationen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
154999.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.16 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons