Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8872
Title: การพัฒนาเครื่องมือประเมินความมีวินัยและความรับผิดชอบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4
Other Titles: The develoment of instruments to assess discipline and responsibility for Prathom Suksa VI students in Nakhon Ratchasima Educational Service Area 4
Authors: สมคิด พรมจุ้ย, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุเทพ เบ็ญจวิไลกุล, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์
นักเรียนประถมศึกษา--การประเมิน
นักเรียนประถมศึกษา--ไทย--นครราชสีมา
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างเครื่องมือประเมินความมีวินัยและความรับผิดชอบสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4 และ (2) ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือประเมินความมีวินัยและความรับผิดชอบสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4 จำนวน 10 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4 จำนวน 400 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นเครื่องมือประเมินความมีวินัยและความรับผิดชอบ มี 2 ฉบับ คือ (1) แบบสังเกตความวินัยและความรับผิดชอบ (2) แบบวัดความมีวินัยและความรับผิดชอบ สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ ดัชนีความสอดคล้อง สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) เครื่องมือประเมินความมีวินัยและความรับผิดชอบสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4 ที่พัฒนาขึ้นมี 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสังเกตความมีวินัยและความรับผิดชอบ จํานวน 42 ข้อ แบบวัดความมีวินัยและความรับผิดชอบ จำนวน 42 ข้อ (2) แบบสังเกตความมีวินัยและความรับผิดชอบ มีความตรงเชิงเนื้อหาโดยค่าดัชนีความสอดคล้อง มีค่าระหว่าง 0.66 ถึง 1.00 ความตรงเชิงโครงสร้างใช้เทคนิคกลุ่มชัด มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 และแบบวัด ความมีวินัยและความรับผิดชอบ มีความตรงเชิงเนื้อหาโดยค่าดัชนีความสอดคล้อง มีค่าระหว่าง 0.66 ถึง 1.00 มีความตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัด มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8872
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons