Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8909
Title: ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคคลากรวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Job satisfaction of personnel in Ayutthaya Vocational College
Authors: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิชา สุภู่อ่อน, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา--ข้าราชการ--ความพอใจในการทำงาน
วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา--พนักงาน--ความพอใจในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
ความพอใจในการทำงาน
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา (3) เสนอแนะแนวทางปรับปรุงนโยบายการบริหารงาน เพื่อให้บุคลากรวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา เกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีสูงสุดต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กาการวิจัยใช้วิธีการสำรวจกลุ่มตัวอย่างบุคลากรวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนกรศรีอยุธยาจำนวน 96 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 126 กน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น 0.9532 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเยี่ยงเบนมาตรฐาน การทคสอบที วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยามีระดับความพึงพอใจการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.23 ปัจจัยการปฏิบัติงานในระดับมาก ได้แก่ การได้รับการยอมรับนับถือ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ระดับป่านกลาง ได้แก่ สภาพแวดล้อมในการทำงาน เงินเดือนและค่าตอบแทน ความก้าวหน้าและมั่นคง นโยบายการบริหารงาน การปกครองและบังคับบัญชา (2) ปัจจัยส่วนบุคคล อายุ รายได้ ระดับการศึกษา และปัจจัยลักษณะงาน อายุงาน สถานภาพการทำงานมีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 (3) การสร้างความพึงพอใจให้แก่บุคลากร ผู้บังคับบัญชาควรเปิดโอกาสที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงานและยอมรับฟัง ให้บุคลากรแสดงความคิดเห็นต่อกรณีความขัดแย้งต่างๆความคิดเห็นในการกำหนดนโยบายร่วมกันจากผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในการปฏิบัติงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8909
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_122403.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.57 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons