Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/897
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นิตยา เพ็ญศิรินภา | th_TH |
dc.contributor.author | นุชนาถ มโนมัย, 2515- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-08-23T03:14:51Z | - |
dc.date.available | 2022-08-23T03:14:51Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/897 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงสํารวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของผู้บริจาคโลหิต 2) วัดระดับความคาดหวังและการรับรู้ต่อคุณภาพบริการของผู้บริจาคโลหิต 3) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ 4) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ของผู้บริจาคโลหิตที่มีคุณลักษณะต่างกัน และ 5) จัดลำดับความหวังต่อคุณภาพบริการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริจาคโลหิตภายในศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ที่ได้จากการสุ่มอย่างมีระบบจํานวน 400 คน เครื่องมือคือแบบสอบถามที่พัฒนาจากเครื่องมือวัดคุณภาพบริการ SERVQUAL มีค่าความเที่ยงของระดับความคาดหวังและระดับการรับรู้เท่ากับ .986 และ .976 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สถิติทดสอบครัสคาล-วาลลิสและแอล เอส ที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริจาคเป็นเพศชายมากที่สุดร้อยละ 54.5 อายุ 17-20 ปีมากที่สุด ร้อยละ 37 อายุเฉลี่ย 34.70 ปี ศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่ามากที่สุด ร้อยละ 60.7 อาชีพพนักงานบริษัทมากที่สุด ร้อยละ 46.5 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาทมากที่สุด ร้อยละ 39.2 ส่วนใหญ่เคยบริจาคแล้วร้อยละ 88.2 มาบริจาคครั้งแรก ร้อยละ 11.8 จำนวนครั้งเฉลี่ย 20.01 ครั้ง จำนวนครั้งที่บริจาคในรอบ 1 ปีมากที่สุด คือ 3 ครั้งเฉลี่ย 2.42 ครั้ง เหตุจูงใจส่วนใหญ่ คือ ต้องการทำบุญเหตุจูงใจสำคัญที่สุด คือศรัทธาในสภากาชาดไทย 2) ผู้บริจาคมีความคาดหวังและการรับรู้ต่อคุณภาพบริการในระดับมาก 3) คะแนนเฉลี่ยการรับรู้มากกว่าความคาดหวัง โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ผู้บริจาคที่เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน จำนวนครั้งที่บริจาค และเหตุจูงใจต่างกัน มีความคาดหวังและการรับรู้ไม่ต่างกัน ยกเว้น ผู้บริจาคที่มีจํานวนครั้งที่มาบริจาคในรอบปีต่างกันมีความคาดหวังแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 5) ผู้บริจาคมีความคาดหวังต่อคุณภาพบริการที่สำคัญ 3 อันดับแรก คือ ด้านบริการที่สร้างความมั่นใจ ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ของบริการ และด้านบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการตามลำดับ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้ คือ ควรประเมินคุณภาพบริการในมุมมองของผู้บริจาคเป็นระยะและนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนพัฒนาคุณภาพบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริจาค และควรประเมิน คุณภาพบริการหรือทักษะในการให้บริการของเจ้าหน้าที่เป็นระยะเพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างลักษณะของคุณภาพบริการที่กำหนดไว้ และบริการที่ให้จริง รวมทั้งการจัดบริการที่มีความหลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริจาคที่มีคุณลักษณะต่างกัน | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Reformatted digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | สภากาชาดไทย. ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ--ความพอใจของผู้ใช้บริการ | th_TH |
dc.subject | ผู้บริจาคโลหิต | th_TH |
dc.title | คุณภาพบริการที่คาดหวังและที่ได้รับตามการรับรู้ของผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Expected and actual perceived service quality by blood donors of National Blood Center, Thai Red Cross Society | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this survey research were: 1) to study characteristics of blood donors: 2) to measure an expectation and perception level of blood donors towards services quality: 3) to compare the differences between the expectation and perception: 4)to compare the differences between the expectation and perception of blood donors according to their different characteristics: and 5) to rank the donors' expectation on services quality. rhe study samples were 400 blood donors, systematic randomly selected from National Blood Center, Thai Red Cross Society. The questionnaire as the research instrument was developed based on SERVQUAL, with its reliability coefficients on expectation and perception scales equal to .986 and .976 respectively. Data analysis used descriptive statistics, t-test. ANOVA, Kruskal-Wallis test and LSD. The study results were as follow s: 1) 54.5 percents of the blood donors were male with an average age of 34.70years old: 60.7 percents had an education level at Bachelor’s Degree or higher: 46.5 percents had occupations as company employee: 39.2 percents had income more than 20,000 baht per month: most of them (88.2 percentages) had experiences of blood donation w ith an average of the overall donations of 20.01 times and an average w ithin one year of 2.42 times: the majority of their donation motive was for merit and the most important motive was a trust in the Thai Red Cross Society. 2) The donors' expectation and perception were at high level. 3) The donors' perception level was higher than the expectation, and the statistically significant difference between them were found at 0.05 level. 4) There were no differences in the expectation and perception between the donors who differed in gender, age. education, occupation, the income per month, the numbers of total donation frequency and the donation motives. The only difference found was the expectation among the donors who had one year frequency donation with differently with significant statistical level of 0.05. 5) The ranking of 3 important dimensions of services quality according to the donor expectation were the assurance, reliability’ and responsiveness to quality care provision, respectively. The recommendations from this study were that the services quality from should be assessed from the view point of the donors, and that the services quality and services providing skills of the providers should be assessed periodically so that the findings would be used for service development planning to correspondent with the donors' needs. In addition, the services should be in diversity and correspondence to the needs of donors who have the differences in personal characteristics | en_US |
dc.contributor.coadvisor | สุรเดช ประดิษฐบาทุกา | th_TH |
Appears in Collections: | Health-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License