กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/897
ชื่อเรื่อง: คุณภาพบริการที่คาดหวังและที่ได้รับตามการรับรู้ของผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Expected and actual perceived service quality by blood donors of National Blood Center, Thai Red Cross Society
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา
นุชนาถ มโนมัย, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุรเดช ประดิษฐบาทุกา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
สภากาชาดไทย. ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
ผู้บริจาคโลหิต
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสํารวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของผู้บริจาคโลหิต 2) วัดระดับความคาดหวังและการรับรู้ต่อคุณภาพบริการของผู้บริจาคโลหิต 3) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ 4) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ของผู้บริจาคโลหิตที่มีคุณลักษณะต่างกัน และ 5) จัดลำดับความหวังต่อคุณภาพบริการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริจาคโลหิตภายในศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ที่ได้จากการสุ่มอย่างมีระบบจํานวน 400 คน เครื่องมือคือแบบสอบถามที่พัฒนาจากเครื่องมือวัดคุณภาพบริการ SERVQUAL มีค่าความเที่ยงของระดับความคาดหวังและระดับการรับรู้เท่ากับ .986 และ .976 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สถิติทดสอบครัสคาล-วาลลิสและแอล เอส ที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริจาคเป็นเพศชายมากที่สุดร้อยละ 54.5 อายุ 17-20 ปีมากที่สุด ร้อยละ 37 อายุเฉลี่ย 34.70 ปี ศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่ามากที่สุด ร้อยละ 60.7 อาชีพพนักงานบริษัทมากที่สุด ร้อยละ 46.5 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาทมากที่สุด ร้อยละ 39.2 ส่วนใหญ่เคยบริจาคแล้วร้อยละ 88.2 มาบริจาคครั้งแรก ร้อยละ 11.8 จำนวนครั้งเฉลี่ย 20.01 ครั้ง จำนวนครั้งที่บริจาคในรอบ 1 ปีมากที่สุด คือ 3 ครั้งเฉลี่ย 2.42 ครั้ง เหตุจูงใจส่วนใหญ่ คือ ต้องการทำบุญเหตุจูงใจสำคัญที่สุด คือศรัทธาในสภากาชาดไทย 2) ผู้บริจาคมีความคาดหวังและการรับรู้ต่อคุณภาพบริการในระดับมาก 3) คะแนนเฉลี่ยการรับรู้มากกว่าความคาดหวัง โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ผู้บริจาคที่เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน จำนวนครั้งที่บริจาค และเหตุจูงใจต่างกัน มีความคาดหวังและการรับรู้ไม่ต่างกัน ยกเว้น ผู้บริจาคที่มีจํานวนครั้งที่มาบริจาคในรอบปีต่างกันมีความคาดหวังแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 5) ผู้บริจาคมีความคาดหวังต่อคุณภาพบริการที่สำคัญ 3 อันดับแรก คือ ด้านบริการที่สร้างความมั่นใจ ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ของบริการ และด้านบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการตามลำดับ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้ คือ ควรประเมินคุณภาพบริการในมุมมองของผู้บริจาคเป็นระยะและนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนพัฒนาคุณภาพบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริจาค และควรประเมิน คุณภาพบริการหรือทักษะในการให้บริการของเจ้าหน้าที่เป็นระยะเพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างลักษณะของคุณภาพบริการที่กำหนดไว้ และบริการที่ให้จริง รวมทั้งการจัดบริการที่มีความหลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริจาคที่มีคุณลักษณะต่างกัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/897
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
96464.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons