Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/899
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : กรณีศึกษาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 16 กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2548 |
Other Titles: | Factors that affect voting decisions in the members of the house of representatives election : a case study of constituency 16th, Bangkok, in the 2005 constituency representatives election |
Authors: | ฐปนรรต พรหมอินทร์ จักรพันธุ์ มิตรผักแว่น, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา. จุมพล หนิมพานิช ประพนธ์ เจียรกูล |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร -- การเลือกตั้ง -- กรุงเทพฯ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคึกษาถึง (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2) การตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจกับการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งที่ 16 (พื้นที่เขตบางเขน) กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใชั ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าไคสแควร์ ผลการคึกษาวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเสือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้สมัคร ปัจจัยด้านพรรคการเมือง ปัจจัยด้านรูปแบบการหาเสียงและปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จุดเด่นหรือลักษณะสำคัญที่สุดในด้านคุณสมบัติของผู้สมัครคือ เป็นคนดีมีความรู้ความสามารถ ในด้านพรรคการเมืองคือ มีนโยบายที่ดี และในด้านรูปแบบการหาเสียงของผู้สมัคร คือ การที่ผู้สมัครเข้าถึงตัวผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงให้กับ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญสูงสุด คือ ปัจจัยด้านผู้สมัครรองลงมาคือ พรรคการเมือง และรูปแบบการหาเสียง ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ปัจจัยด้านผู้สมัครและปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้แก่ อายุ อาชีพและรายได้ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ปัจจัยด้านพรรคการเมือง ปัจจัยด้านรูปแบบการหาเสียง และปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมของผู้มีสิทธ์เลือกตั้ง ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพทางครอบครัวและระยะเวลาการอาศัยอยู่ในพื้นที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/899 |
Appears in Collections: | Pol-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib96546.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License