Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9013
Title: การรับรู้ของพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทยที่มีต่อการจัดการความรู้
Other Titles: Perception of knowledge management of employees of Expressway Authority of Thailand
Authors: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิธิมา ศรีสองเมือง, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
การรับรู้
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการรับรู้กระบวนการจัดการความรู้ของพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (2) เปรียบเทียบการรับรู้กระบวนการจัดการความรู้ของพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทยโดยจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล (3) หาความสัมพันธ์ ระหว่างสื่อที่ใช้ในการจัดการความรู้และกระบวนการจัดการความรู้ของพนักงานการทางพิเศษแห่ง ประเทศไทย (4) เสนอแนะแนวทางการจัดการความรู้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานการทางพิเศษแห่ง ประเทศไทย จำนวน 370 คนจากพนักงานทั้งหมด 4,599 คน โดยคำนวณจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ โดยมีเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ สมมติฐานด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า (1) พนักงานมีการรับรู้กระบวนการจัดการความรู้ทั้ง 7 ด้าน ใน ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์มาก (X = 3.98) โดยการเรียนรู้มีการรับรู้มากที่สุด (X = 4.34) และการสำรวจ ความรู้หรือการล้นหาความรู้ที่องค์กรต้องการมีการรับรู้น้อยที่สุด (X = 3.73) (2) พนักงานที่มีอายุ ระดับพนักงาน และฝ่ายที่สังกัดแตกต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดการความรู้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ขณะที่พนักงานที่มีเพศและระยะเวลาปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีการ รับรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดการความรู้ไม่แตกต่างกัน (3) สื่อบุคคล (คณะทำงานบริหารจัดการความรู้) สื่อทาง Intranet งานนิทรรศการการชัดการความรู้ประจำปี และสื่อประเภทสี่งพิมพ์ มีความสัมพันธ์ ในการพยากรณ์กระบวนการจัดการความรู้อย่างมีนัยสำคัญ โดยสามารถพยากรณ์การเปลี่ยนแปลง กระบวนการจัดการความรู้ร่วมกันได้ร้อยละ 45.2 (4) ฝ่ายบริหารควรเพิ่มกิจกรรมการชัดการความรู้ โดยจัดให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร พัฒนาระบบสืบค้นข้อมูลให้สามารถ สืบล้นได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วมากขึ้น และกระจายความรู้ให้ทั่วถึงทั้งองค์กร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9013
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_140825.pdfเอกสารฉบับเต็ม13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons