Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/902
Title: วัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทยเชื้อสายมอญชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
Other Titles: Political culture of Thai-Mon people in Koh Kred community, Nonthaburi Province
Authors: วรวลัญช์ โรจนพล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยุทธพร อิสรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิตกร บุญลอย.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
มอญ -- ไทย -- นนทบุรี -- การมีส่วนร่วมทางการเมือง.
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) วัฒนธรรมทางการเมืองของชาวไทยเชื้อสาย มอญชุมชนเกาะเกร็ด (2) ปัจจัยที่มีผลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองของชาวไทยเชื้อสายมอญชุมชน เกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรวิจัย ได้แก่ชาวไทยเชื้อสายมอญหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างเลือกโดยการสุ่ม แบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ชาวไทยเชื้อสายมอญชุมชนเกาะเกร็ดมีวัฒนธรรมทางการเมือง แบบไพร่ฟ้า คือมีความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ยอมรับอำนาจรัฐบาล เคารพ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ไม่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง (2) ปัจจัยที่มีผลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองของชาวไทยเชื้อสายมอญชุมชนเกาะเกร็ด พบว่า 2.1) ปัจจัยทางประวัติศาสตร์ มีผลให้ ชาวชุมชนมอญเกาะเกร็ดยอมรับอำนาจรัฐบาล เคารพ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามกฎหมาย ตามแนวคิด แบบพุทธศาสนา และระบบศักดินา 2.2) การกล่อมเกลาทางการเมือง เมื่อมอญตกเป็นรัฐกันกระทบ และไทยมีนโยบายให้มอญปกครองกันเอง มีผลให้ชาวมอญไม่สนใจเข้ามีส่วนร่วม ทางการเมืองอย่างอื่นใดนอกจากการเลือกตั้งที่ถือเป็นหน้าที่ 2.3) สภาพภูมิรัฐศาสตร์ เกาะเกร็ด มีพื้นที่ขนาดเล็กถูกล้อมรอบด้วยน้ำ มีจำนวนประชากรน้อย จึงถูกละเลยจากกลุ่มการเมือง มีผลให้ชาวชุมชนมอญนิ่งเฉยทางการเมือง 2.4) การพัฒนาเขตเมืองให้เกาะเกร็ดเป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่ขาดการส่งเสริมจากภาครัฐ มีผลให้ชาวมอญร่วมมือกันฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี และกิจกรรมทางศาสนาของตนโดยไม่สนใจการเมือง 2.5) การศึกษา มีผลให้ชาวมอญเกาะเกร็ดมีแนวคิดทางการเมืองแบบอำนาจนิยม ไม่สนับสนุนการชุมนุมประท้วงจากการถูกปลูกฝังด้วยระบบ การศึกษาของไทย 2.6) สื่อ มีผลให้ชาวชุมชนมอญเกาะเกร็ดมีความรู้มีความเข้าใจ มีความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ และมีความโน้มเอียงทางการเมือง ตามการนำเสนอของสื่อมวลชน
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองและการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/902
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib135294.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.83 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons