กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9023
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและความเหมาะสมการลงโทษประหารชีวิตในประเทศไทย กรณีศึกษาความสอดคล้อง อนุสัญญาภาคีร่วมไทยกับต่างประเทศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems and suitability of death penalties in Thailand : a case study of conformity with the convention of the parties between Thailand and foreign countries
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภัทรา อายุวงษ์, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: โทษประหารชีวิต
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาและความเหมาะสมการลงโทษประหารชีวิตในประเทศไทยกรณีความสอดคล้องตามอนุสัญญาภาคีร่วมไทยกับต่างประเทศ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรมต่อการลงโทษประหารชีวิต จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน (3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและความเหมาะสมการลงโทษประหารชีวิตในประเทศไทยตามอนุสัญญาภาคีร่วมไทยกับต่างประเทศ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าการลงโทษประหารชีวิตกับผู้กระทําความผิดเป็นสิ่งที่โหดร้าย ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน แต่ถึงกระนั้นก็ควรที่จะให้มีโทษประหารชีวิตคงอยู่ไว้สําหรับเป็นเครื่องมือในการข่มขู่ให้ผู้ที่จะกระทําความผิดเกิดความเกรงกลัว โดยที่หน่วยงานของรัฐจําเป็นต้องกําหนดนโยบายการบริหารงานภาครัฐให้มีความสอดคล้องกับสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้ทันต่อยุคสมัย สําหรับการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่าในภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมการลงโทษประหารชีวิตในประเทศไทย มีความสอดคล้องอนุสัญญาภาคีร่วมไทยกับต่างประเทศ อยู่ในระดับปานกลาง สําหรับผลเปรียบเทียบความคิดเห็นความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรมต่อการลงโทษประหารชีวิต จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าบุคลากรที่มีปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษาประสบการณ์ในการทํางาน และสังกัดหน่วยงานที่แตกต่างกัน โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 ในขณะที่เพศ มีความเห็นไม่แตกต่างกัน จึงมีข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาและปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับโทษประหารชีวิตว่า หากจะยังคงโทษประหารชีวิตจะต้องเป็นกรณีอาชญากรรมร้ายแรงที่มีความชัดเจนตามข้อกําหนดองค์การสหประชาชาติ โดยผลักดันคู่ขนานไปกับมาตรการนําไปสู่การแก้ไขปรับปรุงระบบกระบวนการยุติธรรม ในการลงโทษผู้กระทําความผิดด้วยความรวดเร็วและแม่นยํา เพื่อให้เกิดผลในการยับยั้งการกระทําความผิด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9023
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168533.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons