Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9029
Title: | สิทธิของวัยรุ่นหญิงศึกษากรณีทำแท้ง |
Other Titles: | Rights of adolescent girls a case study of the abortion |
Authors: | สุจินตนา ชุมวิสูตร ธีรนันท์ ตันติอำนวย, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี. การทำแท้ง--ในวัยรุ่น การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่องสิทธิของวัยรุ่นหญิงศึกษากรณีทำแท้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวความคิดเกี่ยวกับการทำแท้งและแนวคิดตามหลักสิทธิมนุษยชนและสิทธิอนามัยเจริญพันธุที่เกี่ยวข้อง กับการทำแท้งของวัยรุ่นหญิง เพื่อศึกษาวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายที่จะช่วยเหลือให้วัยรุ่นหญิงทำแท้งอย่างถูกกฎหมาย และเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาในประเด็นกรณีศึกษา การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารโดยทำการศึกษา จากหนังลือ บทความ เอกสาร งานวิจัย ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาวิจัย และนำมาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปและข้อเสนอแนะของการวิจัยต่อไป ผลจากการศึกษา พบว่า หากประเทศไทยมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิด ฐานทำให้แท้งลูก โดยให้วัยรุ่นหญิงไทยมีสิทธิตามกฎหมายในการทำแท้งหรือยุติการตั้งครรภ์ได้ในฐานะ ทีเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและสิทธิอนามัยเจริญพันธุอันจะเป็นการสอดคล้องกับสิทธิการมีชีวิตอยู่ อย่างมีศักดศรีความเป็นมนุษย์สิทธิการตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อไร และสิทธิการดูแลและป้องกันสุขภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองและคำนึงถึงประโยชน์ของวัยรุ่นหญิงเป็นสำคัญ โดยให้การทำแห้งของวัยรุ่นหญิงนั้นอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อมิให้เป็นการทำแห้งโดยเสรี จึงเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเดิมเหตุยกเว้นความผิดจากการทำแท้ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305 ให้หญิงซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปีและมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ และหากการตั้งครรภ์เป็นผลร้ายต่อการเป็นอยู่ของหญิงนั้น สามารถทำแท้งไต้โดยไต้รับการยกเว้นความผิด พร้อมทั้งแก้ไขเพี่มเดิมข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภทางการแพทย์ ให้สอดคลองกับกฎหมายอาญาที่มีการแก้ไขเพี่มเติมเหตุยกเว้นความผิดจากการทำแท้งดังกล่าวนี้ อีกประการหนึ่ง ควรบัญญัติให้การปฏิเสธการทำแท้งที่ถูกกฎหมายของวัยรุ่นหญิง ถือเป็นการทารุณกรรมอย่างหนึ่งใน พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เพื่อเป็นการป้องกันมิให้แพทย์ใช้ดุลพินิจปฏิเสธการยุติการ ตั้งครรภ์ให้แก่วัยรุ่นหญิงที่ไต้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของกฎหมายแล้ว ซึ่งการแก้ไขเพี่มเติมกฎหมายดังกล่าว จะทำให้วัยรุ่นหญิงสามารถเข้าถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและสิทธิอนามัยเจริญพันธุไต้อย่างแท้จริง ทั้งยังเป็นการลดปัญหาวัยรุ่นหญิงลักลอบทำแท้งผิดกฎหมายลงได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9029 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_147205.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License