Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9030
Title: การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้สำหรับคดีอาญา : ศึกษากรณีความผิดฐานพรากผู้เยาว์
Other Titles: Application of the restorative justice to the criminal case : case study of minor abduction
Authors: ธีรเดช มโนลีหกุล
ธนพล เนตราทิพย์, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
ความผิดในคดีเด็กและเยาวชน
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้สำหรับคดีอาญา : ศึกษากรณีความผิดฐานพรากผู้เยาว์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการลงโทษ ความเป็นมาแนวคิด รูปแบบ และขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ตลอดจนข้อเด่น ข้อด้อย ในการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาปรับใช้ในการลงโทษ ผู้กระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317, 318, 319 ควบคู่กับกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก เพื่อหาแนวทางในการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมมาใช้กับความผิดฐานพรากผู้เยาว์อันนำไปสู่การพัฒนาให้คดีความผิดอาญาต่อแผ่นดินในบางฐานความผิด สามารถระงับได้โดยวิธีการอื่น นอกเหนือจากการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษแต่เพียงอย่างเดียว การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสาร ซึ่งทำการรวบรวมเอกสารทั้งจากตำราหนังสือบทความงานวิจัยวิทยานิพนธ์ผลงานทางวิชาการอื่นๆ ตัวบท กฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา รวมตลอดถึงข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมกระแสหลักในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317, 318, 319 นั้น มุ่งเน้นแต่เพียงการลงโทษ ผู้กระทำความผิดเป็นสำคัญแม้ว่าคดีประเภทนี้หลังเกิดเหตุฝ่ายจำเลยและผู้เสียหายจะตกลงกันได้ ด้วยการประนอมข้อพิพาทเชิงสมานฉันท์โดยไม่ประสงค์ให้จำเลยต้องรับโทษ หรือตกลงให้จำเลยกับผู้เสียหายสมรสอยู่กินฉันสามีภรรยาต่อไปก็ตามแต่จำเลยก็อาจจะต้องรับโทษทางอาญา เนื่องจากความผิดฐานพรากผู้เยาว์นั้นกฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นความผิดอันยอมความได้จึงต้อง ดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดให้ถึงที่สุดต่อไป ซึ่งถือว่าเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของผู้เสียหาย ดังนั้นผู้ศึกษาจึงมีความเห็นว่าควรมีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งหามาตรการอย่างอื่นมาบังคับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่ดีต่อสังคมส่วนรวมต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9030
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_147712.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.09 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons