Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9038
Title: การคุ้มครองผู้เยาว์ที่กระทำผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553
Other Titles: Protection of minors criminal offense under juvenile and family court and juvenile and family case procedure act, B.E. 2553
Authors: ลาวัลย์ หอนพรัตน์
ธนาภรณ์ ช่อเกตุ, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้เยาว์--การคุ้มครอง
วิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการคุ้มครองผู้เยาว์ที่กระทำผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงแนวคิดและสาเหตุของการกระทำความผิดทางอาญาตลอดจนบทกฎหมายและบทลงโทษซึ่งใช้บังคับกับผู้เยาว์ที่กระทำความผิดทางอาญา เพื่อเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการคุ้มครองผู้เยาว์ที่กระทำผิดทางอาญาเช่นเดียวกับเด็กและเยาวชน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากการค้นคว้าทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและสาเหตุของการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน เปรียบเทียบกับการกระทำผิดทางอาญาของผู้เยาว์รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายทั้งการลงโทษและการคุ้มครองผู้กระทำผิด ทางกฎหมายทั้งที่มีการบังคับใช่ในประเทศไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า ผู้เยาว์ที่กระทำความผิดทางอาญานั้น กฎหมายกำหนดให้ผู้เยาว์เข้ารับ การพิจารณาตามกระบวนการยุติธรรมเช่นเดียวกับผู้ที่บรรลุนิติภาวะหรือผู้ใหญ่ หากแต่แท้จริงแล้วนั้น ผู้เยาว์เป็นผู้ที่อ่อนด้อยประสบการณ์ มีวุฒิภาวะต่ำและถูกชักจูงได้ง่าย เช่นเดียวกับเด็กและเยาวชน ดังนั้นเมื่อผู้เยาว์ได้กระทำความผิดทางอาญาก็ควรที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติศาล เยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 เช่นเดียวกับเด็กและเยาวชน ที่ได้กระทำความผิดทางอาญาโดยบัญญัติให้ “เยาวชน” นั้นหมายถึงบุคคลอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 20ปีบริบูรณ์” หรืออาจให้เป็นดุลยพินิจของศาลในการสั่งให้คดีที่ผู้กระทำผิดเป็นผู้เยาว์ได้รับ ความคุ้มครองพิเศษตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ ครอบครัว พ.ศ. 2553 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เยาว์ได้กลับตัวมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9038
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_148067.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons