Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9039
Title: การบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก ศึกษาเฉพาะกรณีการขับขี่รถขณะเมาสุรา
Other Titles: Enforcement of the road traffic act : a case study drunk driving offences
Authors: ลาวัลย์ หอนพรัตน์
ธนากร สระแสงทรวง, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
พระราชบัญญัติจราจรทางบก
การขับรถขณะเมาสุรา
การบังคับใช้กฎหมาย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก ศึกษาเฉพาะกรณีการขับขี่รถขณะเมาสุรา มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและป้องกันผู้ขับขี่ที่เมาสุรา (2) เพื่อศึกษาว่าหลักเกณฑ์ของกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับกรณีขับขี่รถขณะมึนเมาสุราสามารถปรับใช้หรือควบคุมการขับขี่รถขณะมึนเมาสุราได้หรือไม่ (3) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับมาตรการควบคุมและป้องกันผู้ขับขี่ที่มึนเมาสุรา (4) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและนำผลการวิเคราะห์มาเป็นแนวทางกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการกำหนดโทษ บทลงโทษ ผู้ขับขี่รถขณะมึนเมาสุรา การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยการศึกษาจากประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตลอดทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการขับขี่รถ ขณะมึนเมาสุราของประเทศไทยและกฎหมายต่างประเทศ ทั้งในแง่ของข้อกำหนดของกฎหมาย วิธีการตรวจวัด บทลงโทษหรือแนวทางการลงโทษตามกฎหมาย และ เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อของรายงานตามความเหมาะสม ผลการศึกษาพบว่าหากมีการเพิ่มอัตราค่าปรับ ในความผิดฐานขับรถขณะมึนเมาสุราให้สูงขึ้น ทัดเทียมกับต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศอังกฤษ จะถือว่าเป็นการปรามในทางเศรษฐกิจแก่ ผู้กระทำความผิดฐานขับรถขณะมึนเมาสุราได้เพราะจะทำให้ผู้กระทำความผิดสำนึกถึงผลกระทบที่เกิดขื้นและรู้ว่าเมื่อตนเองกระทำความผิดจะต้องได้รับความเดือดร้อน ต้องขวนขวายหาเงินไปชำระค่าปรับในอัตราสูง ซึ่งจะมีผลในทางจิตใจอีกทั้งหากเพิ่มโทษปรับให้สูงขึ้นอาจทำให้ผู้กระทำความผิดฐานขับขี่รถขณะมึนเมาสุรา เห็น คุณค่าว่าไม่สมควรที่จะดื่มสุราจนกระทั้งถูกชับคุมดำเนินคดีเพราะหากผู้กระทำความผิดฐานขับรถขณะมึนเมา สุราถูกจับกุมดำเนินคดีหลายครั้งจะต้องเสียค่าปรับในจำนวนมาก อันเป็นการลงโทษในทางสังคม (Social sanction) เพราะตนเองจะต้องถูกตำหนิจากญาติหรือบุคคลใกล้ชิด เพราะต้องขวนขวายหารายได้เพิ่มจากที่เป็นอยู่ ซึ่งจะก่อให้เกิดความยากลำบากในการดำรงชีพ ดังนั้นสรุปได้ว่าใช้มาตรการลงโทษทางทรัพย์สิน ผนวกกับการใช้มาตรการคุมประพฤติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด จะทำให้ลดจำนวนผู้กระทำความผิดลง และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9039
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_148153.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons