กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/904
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดลำปาง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting voting decisions in parliamentary elections in the Second Constituency, Lampang province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จุมพล หนิมพานิช จินดา วงศ์สวัสดิ์, 2499- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บุญศรี พรหมมาพันธุ์ ฐปนรรต พรหมอินทร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ การเลือกตั้ง -- ไทย -- ลำปาง การเลือกตั้งท้องถิ่น -- ไทย -- ลำปาง |
วันที่เผยแพร่: | 2548 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยทางจิตวิทยา และปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางการเมือง ที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรเขตเลือกตั้งที่ 2 ของจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,660 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การทดสอบไค-สแควร์ (Chi-Square test) และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการศึกษา อาชีพ ที่อยู่อาศัย รายได้ ทัศนคติที่มีต่อตัว ส.ล. การชื่นชอบนโยบายของรัฐบาล ทัศนคติต่อนโยบายของรัฐบาล ผลการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ความผูกพันต่อพรรคการเมือง ความคาดหวังในตัวผู้สมัคร ส.ส. และนโยบายของพรรคการเมืองมีความสัมพันธ์ต่อระยะเวลาการตัดสินใจ 2) เพศ อาชีพ ที่อยู่อาศัย รายได้ ทัศนคติต่อการพัฒนา พื้นที่ของ ส.ส. การชื่นชอบนโยบายของรัฐบาล และนโยบายของพรรคการเมืองมีความสัมพันธ์ต่อวิธีการตัดสินใจ 3) อายุ อาชีพ ที่อยู่อาศัย รายได้ ทัศนคติต่อการพัฒนาพื้นที่ของ ส.ส. การชื่นชอบนโยบาย ของรัฐบาล ทัศนคติต่อนโยบายของรัฐบาล ผลการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ความผูกพันต่อพรรคการเมือง และความคาดหวังในตัวผู้สมัคร ส.ส. มีความสัมพันธ์ต่อเหตุผลที่เลือก ส.ส. เขตพื้นที่ 4) ทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาพื้นที่ของ ส.ส. ทัศนคติที่มีต่อตัว ส.ส. ทัศนคติต่อนโยบายของรัฐบาล ความผูกพันต่อพรรคการเมืองและความคาดหวังในตัวผู้สมัคร ส.ส. มีความสัมพันธ์ต่อเหตุผลที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 5) การตัดสินใจในการเลือกตั้ง ส.ส. มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการตัดสินใจ ผู้มีสิทธเลือกตั้ง ส.ส. ตัดสินใจเสือกตั้งด้วยตนเอง ผู้นำชุมชนที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง ส.ส. มากที่สุด คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สื่อที่มีผลต่อการเลือกตั้ง ส.ส. มากที่สุด คือ การปราศรัยพบประชาชน เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างไปใชัสิทธเลือกตั้งมากที่สุด คือ ต้องการเลือกคนที่คิดว่าดีที่สุดไปเป็นผู้แทนราษฎร นโยบายของพรรคการเมืองมีส่วนเป็นอย่างมากในการตัดสินใจเลือกตั้ง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/904 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib90481.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.93 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License