Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9069
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณินี กิจพอค้า, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorธีภพภณ จันทร์ลอย, 2520-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-08-24T08:04:15Z-
dc.date.available2023-08-24T08:04:15Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9069-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัญหาการใช้กฎหมายกับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้กฎหมายกับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานศึกษาหลัก กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมายกับผู้ต้องขังในเรือนจำ และทัณฑสถานตามกฎหมายไทยและกฎหมาย ต่างประเทศและวิเคราะห์ปัญหาการใช้กฎหมายกับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารโดยศึกษาจากบทบัญญัติของกฎหมายกฎระเบียบต่างๆ ประกอบกับหนังสือตำราเรียนบทความทางวิชาการวารสารกฎหมายวิทยานิพนธ์ข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์เอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศโดยนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์รวบรวม เป็นข้อมูลตลอดจนหาข้อสรุปเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขต่อไป ผลการศึกษาพบว่าระบบการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายของไทยผู้ที่มีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีอาญา ได้คือ พนักงานอัยการ และผู้เสียหาย โดยต่างมีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีได้อย่างเป็นอิสระ แต่มีขั้นตอนการดำเนินคดี ที่แตกต่างกันหลายประการโดยในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง เมื่อพนักงานอัยการนำตัวจำเลยศาลพร้อมกับ ฟ้องศาลจะประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาโดยมิไว้ทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อนต่างกับคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเอง ที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อนประทับรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาเสมอปัญหาการใช้กฎหมาย กับผู้ต้องขังในเรือนจำ และทัณฑสถาน สามารถสรุปไต้ดังนี้ 1) ปัญหาความขัดแย้งของกฎหมาย พบว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระราชบัญญัติราชทัณฑ์พุทธศักราช 2479 และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการ กักขังตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2506 มีแนวทางการปฏิบัติกับผู้ต้องขังในเรือนจำ และทัณฑสถานไม่สอดคล้องกัน 2) ปัญหาการปฏิบัติงานของเจ้าหนัาที่ พบว่า เจ้าหน้าที่ของเรือนจำ และทัณฑสถาน ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติ ราชทัณฑ์แต่ในทางปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ต้องทำงานกับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความยุ่งยากในการปฏิบัติงาน 3) ปัญหาการลงโทษผู้กระทำความผิด พบว่า การลงโทษผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา แม้ผู้ต้องขังจะกระทำความผิด แต่เจ้าหน้าที่ ก็ต้องดูแล เอาใจใส่อย่างมีมนุษยธรรม โดยคำนึงถึงศักด์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้4)ปัญหาการถูกกักขังแทนค่าปรับพบว่าตามที่กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้กำหนดให้มีการถูกกักขังแทนค่าปรับ ทำให้เรือนจำ และทัณฑสถานมีผู้ต้องขังมากขั้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย 5) ปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล พบว่า ผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด แต่ไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่ควร จึงเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ต้องขัง ข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) ควรแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165 วรรคหนึ่ง 2) ควรจะยกเลิก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 3) ควรแก้ไขให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญามาตรา 228 และมาตรา 235 4) ควรแก้ไขให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสองth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectผู้ต้องหา--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectทัณฑสถาน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ.--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleปัญหาการใช้กฎหมายกับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานth_TH
dc.title.alternativeProblem on low application for inmates in prison and correctionalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study has the purposes to study concept and theory of law application for inmates in prison and correctional, study jurisprudence law application for inmates in prison and correctional of Thai law and International law, and analyze problem on law application for inmates in prison and correctional. This research is a qualitative research by using documentary research. By studying the provisions of the laws and regulations such as textbooks. Academic law journal thesis electronic data. Research papers relevant Both the United States The data is compiled and analyzed the data. The conclusions to guide further editing. The result of research found that criminal proceedings under the Code of Thailand persons who have the power to prosecute criminal proceedings is a prosecutor and victims independently. But litigation procedure is different in many respects between the prosecutors and the plaintiff sued. When prosecutors bring charges against the defendant, the court with jurisdiction may accept the charge of the prosecution without the consideration by the Court of the matter before the trial, however, in case of the plaintiff filed a legislator own law, the court must make an inquiry before the lawsuit was filed, stamped by the plaintiff always considered. Problem on law application for inmates in prison and correctional can be summarized as follows: 1) conflict problems between Criminal Procedure Corrections act BE 2479 act and practices on detention under the Criminal Code Act 2506 provides practical guidance to inmates in jails and prisons are inconsistent 2) operational of staff problems were detention and prison officials to implement the corrections act but in practice Authorities need to work with many inmates in prisons and detention were causing difficulties for the operation 3) punishment of offenders problems were punishment the offenders according to the law of criminal procedure although inmates are criminals but the staff was caring humane with regard to human dignity constitutional defined 4) Confinement of fines problems were according to the criminal procedure law set to be fined instead of being confined to making jails and prisons with inmates which cause many problems ensue 5) Violation of Privacy problems were inmates in jails and prisons who committed the crime but not protected enough therefore violates the privacy rights of inmates. Suggestion were 1) should amend criminal procedure Article 165 paragraph one 2) should cancellation of criminal procedure section 120 3) should amend the provisions of the criminal procedure code section 228 and section 235 4) should amend the provisions of the criminal procedure code section 173 paragraph two.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_150983.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.04 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons