กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9069
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการใช้กฎหมายกับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problem on low application for inmates in prison and correctional
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพอค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีภพภณ จันทร์ลอย, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้ต้องหา--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ทัณฑสถาน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ.--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัญหาการใช้กฎหมายกับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้กฎหมายกับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานศึกษาหลัก กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมายกับผู้ต้องขังในเรือนจำ และทัณฑสถานตามกฎหมายไทยและกฎหมาย ต่างประเทศและวิเคราะห์ปัญหาการใช้กฎหมายกับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารโดยศึกษาจากบทบัญญัติของกฎหมายกฎระเบียบต่างๆ ประกอบกับหนังสือตำราเรียนบทความทางวิชาการวารสารกฎหมายวิทยานิพนธ์ข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์เอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศโดยนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์รวบรวม เป็นข้อมูลตลอดจนหาข้อสรุปเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขต่อไป ผลการศึกษาพบว่าระบบการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายของไทยผู้ที่มีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีอาญา ได้คือ พนักงานอัยการ และผู้เสียหาย โดยต่างมีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีได้อย่างเป็นอิสระ แต่มีขั้นตอนการดำเนินคดี ที่แตกต่างกันหลายประการโดยในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง เมื่อพนักงานอัยการนำตัวจำเลยศาลพร้อมกับ ฟ้องศาลจะประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาโดยมิไว้ทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อนต่างกับคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเอง ที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อนประทับรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาเสมอปัญหาการใช้กฎหมาย กับผู้ต้องขังในเรือนจำ และทัณฑสถาน สามารถสรุปไต้ดังนี้ 1) ปัญหาความขัดแย้งของกฎหมาย พบว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระราชบัญญัติราชทัณฑ์พุทธศักราช 2479 และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการ กักขังตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2506 มีแนวทางการปฏิบัติกับผู้ต้องขังในเรือนจำ และทัณฑสถานไม่สอดคล้องกัน 2) ปัญหาการปฏิบัติงานของเจ้าหนัาที่ พบว่า เจ้าหน้าที่ของเรือนจำ และทัณฑสถาน ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติ ราชทัณฑ์แต่ในทางปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ต้องทำงานกับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความยุ่งยากในการปฏิบัติงาน 3) ปัญหาการลงโทษผู้กระทำความผิด พบว่า การลงโทษผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา แม้ผู้ต้องขังจะกระทำความผิด แต่เจ้าหน้าที่ ก็ต้องดูแล เอาใจใส่อย่างมีมนุษยธรรม โดยคำนึงถึงศักด์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้4)ปัญหาการถูกกักขังแทนค่าปรับพบว่าตามที่กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้กำหนดให้มีการถูกกักขังแทนค่าปรับ ทำให้เรือนจำ และทัณฑสถานมีผู้ต้องขังมากขั้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย 5) ปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล พบว่า ผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด แต่ไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่ควร จึงเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ต้องขัง ข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) ควรแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165 วรรคหนึ่ง 2) ควรจะยกเลิก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 3) ควรแก้ไขให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญามาตรา 228 และมาตรา 235 4) ควรแก้ไขให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9069
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_150983.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons