กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9075
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบำบัดผู้ติดยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Issues of drug rehabilitation according to narcotic addict rehabilitation Act B.E.2545 (2002)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินาฏ ลีดส์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปริศนา แก่นโท, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545
ยาเสพติด
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่องปัญหาการบำบัดผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 2) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ดีดยาเสพติด 3) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบำบัดฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามกฎหมายของต่างประเทศ 4) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการบำบัดฟื้นฟูผู้ดิดยาเสพติด ตาม พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 และ 5) เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา และนำไปใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้มีประสิทธิภาพต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร ด้วยการรวบรวมข้อมูลจาก หนังสือ ตำรา ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย เอกสารประกอบการเรียนการสอน เอกสาร ประกอบการสัมมนา บทความ วารสาร รวมตลอดถึง ข้อมูลสารสนเทศบน internet ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากการศึกษาพบว่ากฎหมายเกี่ยวกับการบังคับบำบัดผู้ดิดเสพยาเสพติดในประเทศไทย ยังไม่สอดคล้องและไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งยังขาดกระบวนการเชื่อมต่ออย่างเป็นระบบ จึงส่งผลให้ไม่สามารถบำบัดผู้เสพ ผู้ดิดยาเสพติดให้หายขาดและออกจากระบบบังคับบำบัดได้อย่างถาวร ผู้ศึกษาจึงเสนอแนวทางแก้ไข โดยควรมีมาตรการบังคับที่เป็นระบบมาตรฐานและมีกลไกรองรับเป็นทิศทางเดียวกัน ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขบทบัญญัติบางส่วนในพระราชบัญญ้ติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 รวมทั้งกฎหมายลำดับรอง ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ในประเด็นสำคัญสี่ประการ คือ (1) หลักเกณฑ์ของผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟู พบว่าเงื่อนไขการเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 มีความไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด จึงเสนอให้ศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจสั่ง ส่งตัวผู้ต้องหาเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู (2) ขั้นตอนการตรวจพิสูจน์การติดยาเสพติด พบว่ามีความล่าช้าเกินสมควรจึง เสนอให้โรงพยาบาลซึ่งมีความพร้อมเป็นสถานที่ตรวจพิสูจน์ (3) ขั้นตอนการบำบัดฟื้นฟูและการรายงานตัว พบว่า แผนการบำบัดไม่สอดคล้องกับระดับการติดยาเสพติดและขาดสถานบำบัดมารองรับ จึงเสนอให้ออกระเบียบ กำหนดวิธีการบำบัดฟื้นฟูตามระดับการติดยาเสพติดและเพึ่มสถานบำบัดฟืนฟู (4) ขั้นตอนการติดตามผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูพบว่าขาดการติดตามช่วยเหลืออย่างจริงจังจึงเสนอให้เพิ่มขั้นตอนการติดตามไว้ในพระราชบัญญัติฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ดิดยาเสพติดด้วย เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ของการแก้ไขปัญหา การเสพยาเสพติดโดยคำนึงถึงสิทธิของผู้เข้ารับการบำบัดด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9075
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_150993.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons