Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9076
Title: การวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Other Titles: Financial statement analysis of construction business registered in the Stock Exchange of Thailand
Authors: ฐาปนา ฉิ่นไพศาล, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรเทพ ศรีสังสิทธิสันติ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
อุตสาหกรรมการก่อสร้าง--งบการเงิน
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตลุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารของบริษัทที่ประกอบธุรกิจก่อสร้างขนาดใหญ่ ในด้านสภาพคล่องของกิจการ ความสามารถในการจัดการหนี้สิน ความสามารถในการจัดการสินทรัพย์ความสามารถในการทำกำไร และมูลค่าตลาดของกิจการ ประชากรที่ศึกษาคือ งบการเงินของบริษัทที่ประกอบธุรกิจก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549-2553 จำนวน 7 บริษัท โดยผูศึกษาได้นำค่าตัวเลขของรายการ ทางบัญชีในงบการเงินทั้ง 5 ปี มาคำนวณหาอัตราส่วนทางการเงิน ผลการศึกษาพบว่า (1) ด้านสภาพคล่องของกิจการบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่มีแนวโน้มปรับตัวดี ขึ้นอย่างต่อเนี้อง ค่าเฉลี่ยของกลุ่มบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และมีค่ามากกว่า 1 เท่าทุกปี แสดงว่าบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ยังคงรักษาสภาพคล่องได้ดี (2) ต้านความสามารถในการจัดการหนี้สินพบว่า ค่าเฉลี่ยของกลุ่มบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม และพบว่าบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่มีความสามารถในการจัดการหนี้สินและ มีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยได้ดีขึ้น (3) ด้านความสามารถในการจัดการสินทรัพย์พบว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงแต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมในทุกอัตราส่วน แสดงว่าบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่สามารถบริหาร สินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (4) ด้านความสามารถในการทำกำไรพบว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มบริษัทก่อสร้างขนาด ใหญ่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นแต่ยังตากว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมในทุกอัตราส่วน แสดงว่าบริษัทก่อสร้างขนาด ใหญ่อาจไต้รับผลกระทบจากการปฏิวัติในปีพ.ศ.2549 ตลอดจนภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี พ.ศ.2550 (5) ด้านมูลค่าตลาดของกิจการพบว่าบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในทุกอัตราส่วน โดยที่ค่าเฉลี่ยของกลุ่มบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ตากว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม แสดงว่ามูลค่าตลาดของบริษัท ก่อสร้างขนาดใหญ่มีแนวโน้มเพี่มสูงขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9076
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_137363.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.65 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons