Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9102
Title: การส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของสมาชิกศูนย์เมล็ดพันธุ ข้าวชุมชนบ้านอีเตี้ย-สองพี่น้อง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
Other Titles: Extension in rice seed production in compliance with good agricultural practice of the members of Community Rice Seed Center at Ban E-Tia Song Pi Nong, Thawatchaburi District, Roi-Et Province
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัญชิสา แซ่กอ, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: ข้าว--เมล็ดพันธุ์--การผลิต
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิต เมล็ดพันธุ์ข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) การได้รับการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 56.1 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 57.60 ปี มีประสบการณ์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เฉลี่ย 4.92 ปี การได้รับการฝึกอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานเกี่ยวกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เฉลี่ย 3. 16 ครั้ง/ปีมีพื้นที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 13.61 ไร่ จำนวนแรงงานในการทำนาเฉลี่ย 2.99 คน ร้อยละ 94.4 ใช้แหล่งเงินทุนกองทุนหมู่บ้าน ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 1,853.19 บาท/ไร่ รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 4,818.30 บาท/ไร่ รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 69,300 บาท/ปี 2) เกษตรกรเกือบทั้งหมดมีความรู้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมากที่สุด โดยมีความรู้มากที่สุดคือพื้นที่ปลูก และมีความรู้น้อยที่สุด คือ การจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพ 3) การปฏิบัติเกษตรกรร้อยละ 61.8 มีการปฏิบัติการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ในระดับมาก โดยคนส่วนใหญ่ปฏิบัติมากในประเด็นการเตรียมดินการปลูกและการดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผลภายในแปลง ปฏิบัติน้อยที่สุดในประเด็น การบันทึกข้อมูลและตามสอบ 4) เกษตรกรร้อยละ 97.7 ได้รับการส่งเสริมด้านเนื้อหามากที่สุด ประเด็นการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ต้องการรับการส่งเสริมมากที่สุด ในประเด็นการจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพเกษตรกรทั้งหมด ได้รับการส่งเสริมแบบมวลชน โดยผ่านหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านและเอกสารแผ่นพับ/คู่มือ และต้องการการส่งเสริมมากที่สุดผ่านหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านและการศึกษาดูงานนอกสถานที่ เกษตรกรร้อยละ 97.7ได้รับการสนับสนุนโดยเจ้าหน้าทีติดตามให้คำแนะนำอยางสม่ำเสมอ มีความต้องการการสนับสนุนมากที่สุด ในประเด็น การหาตลาดรองรับผลผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว 5) เกษตรกรมีปัญหาการส่งเสริมในประเด็นขาดความรู้ด้านการวางแผนการผลิตและการเดินทางไปพบเจ้าหน้าที่ เกษตรกรมีข้อเสนอแนะ อยากได้การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ปัจจัยการผลิต การตลาด และการแปรรูป
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9102
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168412.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.48 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons