Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9103
Title: ปัจจัยทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผ้าอนามัยของผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Marketing factors related to sanitary napkin buying behavior of woman in Bangkok area
Authors: ประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
นัยนา เตชะเพิ่มผล, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผ้าอนามัย--การตลาด
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล (2) พฤติกรรมการซื้อผ้าอนามัยของผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานคร (3) ปัจจัยทางการตลาด (4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อผ้าอนามัยของผู้หญิงในเขต กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มประชากรเป็นผู้หญิงวัยมีประจำเดือน อายุ 11-50ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีเสือกตัวอย่างแบบโควต้าและใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า (1)กลุ่มตัวอย่างส่วนมากอายุ 20-29 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชนสถานภาพโสดมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ไม่มีบุตรมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุ 11-12ปี ระยะเวลาในการมีประจำเดือนแต่ละครั้ง 4-5 วัน และใช้ ผ้าอนามัย 3-4 ชิ้นต่อวัน (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนมากซื้อผ้าอนามัยด้วยตนเอง โดยซื้อผ้าอนามัย ยี่ห้อลอรีเอะ แบบบาง มีปีก ผิวสัมผัสแบบนุ่ม ขนาดมาตรฐาน ชอบบรรจุภัณฑ์สีขาว ปริมาณการ บรรจุ 16-20 ชิ้นต่อห่อ ซื้อจากห้างสรรพสินค้า ส่วนลดราคาทำให้ตัดสินใจซื้อได้ง่าย ตัดสินใจซื้อ โดยไม่ต้องมีผู้อื่นแนะนำซื้อครั้งละ 2 ห่อต่อเดือน คุณภาพเป็นเหตุผลสำคัญในการตัดสินใจซื้อมี ช่วงระยะเวลาการซื้อไม่แน่นอน และรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับผ้าอนามัยจากโทรทัศน์มากที่สุด (3) ปัจจัยทางการตลาดที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย รองลงมาคือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ปัจจัยด้านราคา และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ (4) ปัจจัยทางการตลาด ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัด จำหน่าย และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผ้าอนามัยของ ผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานครทุกปัจจัย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9103
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_124601.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.39 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons