Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9110
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเบญจมาศ ไตรสุธา, 2524-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-08-25T07:30:47Z-
dc.date.available2023-08-25T07:30:47Z-
dc.date.issued2554en_US
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9110en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความผูกพันองค์การ ของครูโรงเรียนไผทอุดมศึกษา (2) เปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะทางการบริหาร และประสบการณ์จากการทำงานของครูโรงเรียน ไผทอุดมศึกษา (3) เสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างระดับความผูกพันองค์การของครู โรงเรียนไผทอุดมศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในส่วนการศึกษาอนุบาล ส่วนการศึกษา ประถมศึกษา และส่วนการศึกษามัธยมศึกษา ในโรงเรียนไผทอุดมศึกษา จำนวน 220 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ศึกษาใช้สูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ระดับความเชื่อมั่น 95% และค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 142 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ดำเนินการวิเคราะห์ ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิชัยด้วยการทดสอบแบบ ที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบเปรียบเทียบเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ผลการวิจัย พบว่า (1) ความคิดเห็นต่อระดับความผูกพันองค์การของครูโรงเรียน ไผทอุดมศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และจำแนกเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากทุกด้าน (2) ผลการ ทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลักษณะส่วนบุคคล จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา และหน่วยงาน ต่างกัน มีความผูกพันองค์การไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุ สถานภาพ ระยะเวลาในการทำงาน และ รายได้ต่างกัน มีความผูกพันองค์การแตกต่างกันเป็นการยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ลักษณะทางการ บริหารและประสบการณ์จากการทำงานต่างกัน มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์การแตกต่างกัน เป็นการยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ (3) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อความผูกพันองค์การของครู โรงเรียนไผทอุดมศึกษา ครูส่วนใหญ่มีความคิดเห็นด้านการมีปฏิสัมพันธ์และกิจกรรมร่วมกัน ผู้บริหารควรมีการเสริมสร้างการชัดกิจกรรมระหว่างส่วนการศึกษา การทำงานร่วมกันเป็นทีม การ มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครู ส่วนการศึกษา ผู้บริหาร ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มความรักใคร่ ปรองดอง สามัคคี ภายในองค์การth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectความผูกพันต่อองค์การth_TH
dc.subjectความภักดีของลูกจ้างth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การของครูโรงเรียนไผทอุดมศึกษาth_TH
dc.title.alternativeFactors influencing the organizational commitment of teachers of Patai Udom Suksa Schoolen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_137212.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.17 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons