Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9121
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสาวนีย์ อัศวโรจน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorณัฐวรรธน์ ยิ้มอ่อน, 2529- ผู้แต่ง.th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-08-25T08:22:33Z-
dc.date.available2023-08-25T08:22:33Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9121-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และแนวคิดเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม และการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐตามบทบัญญัติมาตรา100แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 ตลอดจนกระบวนการและขั้นตอนการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ พร้อมวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยเอกสารเป็นสำคัญ ด้วยการค้นคว้า รวบรวมจากกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ บทความ ตำราวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ คำวินิจฉัย ตัวบทกฎหมาย ตลอดจนข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อกำหนดแนวทาง หรือมาตรฐานในการแก้ไขปัญหาหรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 เป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมซึ๋งก็เป็นปัญหาการคอรัปชั่นปัญหาหนึ่งของสังคมทั่วโลก แม้ประเทศไทยจะมีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อให้เป็นสากลดังเช่นกับต่างประเทศแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีการบังคับใช้ ที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญในการป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมเท่าที่ควรนัก มาตรา100 ถือเป็นมาตรการกลไกสำคัญประการหนึ่งในการป้องกันการเข้าไปผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยในวรรคสอง บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการกำหนดตำแหน่ง เจ้าหน้าที่รัฐที่สมควรอยู่ภายใบังคับของมาตรา 100 แต่ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้กำหนดในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร เนื่องด้วยมีข้อจำกัด อยู่หลายประการ จึงทำให้การบังคับใช้กฎหมายในมาตรา 100จึงไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขให้มีการปรับปรุงบทบัญญัติมาตรา 100 และเสนอให้มีการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ ของรัฐให้มีความเหมาะสมมากยี่งขื้นเพื่อการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพต่อไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติth_TH
dc.subjectการขัดกันแห่งผลประโยชน์th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องห้ามตามบทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราขบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542th_TH
dc.title.alternativeThe determination of prohibited government official position according to section 100 of the act appurtenant to the constitution on anti-corruption B.E.2542en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study aims to examine background and concepts regarding actions with conflicts of interest between personal and public benefits and determination of government official position according to Section 100 of the Act appurtenant to the Constitution on Anti-Corruption B.E. 2542 as well as process and procedures of ineffective law enforcement, analyze such problems and suggest a guideline of relevant law amendments. This independent study was a research with methodology of Documentary research by searching and gathering data from laws, regulations, notices, orders, documents, publications, articles, academic texts, theses, diagnoses, legal provisions as well as data from electronic media to define a guideline or standard of problem solving or relevant law amendment. According to the study, section 100 of the Act appurtenant to the Constitution on Anti-Corruption B.E. 2542 is a measure to eliminate conflicts of interest between personal and public benefits which is one of the corruption problems in the society all over the world. Although Thailand enforces such law to be universal as same as other countries, it has not been effectively regulated as it must be due to failure in compliance with the intention of constitutional provisions to prevents problems concerning actions resulting in conflicts of interest between personal and public benefits. Thus, Section 100 is an important mechanism to prevent benefit accessing of the government officials. Clause two’s provisions were involved with functions and authorities of the National Anti-Corruption Commission in determining positions of the government officials who deserved to be in service under Section 100. However, positions and functions of the government officials defined by the National Anti-Corruption Commission were not inclusive as it should be due to a number of limitations leading to ineffective Section 100 enforcement. Therefore, the researcher thus proposes a guideline of amending Section 100 and agrees that determination of government officials’ positions should be more appropriate so that the laws are effectively implemented.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_157821.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons