Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9160
Title: | การดำเนินคดีของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ: ศึกษาอำนาจหน้าที่ตามร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ... |
Other Titles: | Proceeding of the National anti-corruption commission (NACC): Studying on the Authority and power of the Organic Law bill on counter corruption |
Authors: | เสาวนีย์ อัศวโรจน์ ปิยาภรณ์ เจริญไชย, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีหลักการดำเนินคดีอาญา และวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตตลอดจนมาตรการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจการดำเนินคดีอาญาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือเรียกโดยย่อว่า “คณะกรรมการ ป.ป.ช.” ในการไต่สวนข้อเท็จจริงและมีมติวินิจฉัยกรณีมีการกล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ตามร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ.... ผลการศึกษาพบว่า การฟ้องคดีเองของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้แสวงหาข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐาน และวินิจฉัยชี้มูลความผิดนั้นเป็นการใช้ดุลยพินิจเด็ดขาด ไม่มีการควบคุมตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ หากเปรียบเทียบกับประเทศสิงคโปร์ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการเท่านั้นที่มีอำนาจพิจารณาฟ้องคดีต่อศาล ผู้เขียนจึงเสนอให้ แก้ไขเพิ่มเติมร่างฯ มาตรา 51โดยกำหนดให้พนักงานอัยการเข้าร่วมเป็นอนุกรรมการไต่สวนในคดี สำคัญเพื่อกลั่นกรอง ตรวจสอบ ถ่วงดุล อันจะเป็นการลดปริมาณคดีที่มีข้อไม่สมบูรณ์ และควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างฯ มาตรา 66 โดยกำหนดให้หน่วยงานต่างๆ ที่รายงานผลการดำเนินงานจัดทำ ความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือไม่ส่งไปพร้อมกับสำนวนให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติวินิจฉัย หากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเห็นว่าข้อกล่าวหาใดมีมูลความผิดให้ส่งรายงานและความเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลต่อไปเป็นการป้องกันมิให้ปฏิบัติหน้าที่ซํ้าซ้อนกัน อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพขอผู้ถูกกล่าวหาหรือพยาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9160 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_158654.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 45.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License