กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9162
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลนํ้าแคม อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An extension for cassava production of farmers in Namcam Sub - district, Thali District, Loei Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สกาวรัตน์ ผลประสาท, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มันสำปะหลัง--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทัวไปของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลัง2) สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร 3) ปัญหาด้านการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร 4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรมากกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 51.33 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวนแรงงานผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 2.66 คน พื้นที่ผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 21.16 ไร่ ผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่เฉลี่ย 2,585.80 กิโลกรัมต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังต่อไร่เฉลี่ย 4,890.40 บาท มีประสบการณ์ในการผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 13.28 ปี 2) โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบในการผลิตมันสำปะหลังมากกว่าครึ่ง คือโรครากหรือหัวเน่า และเพลี้ยแป้งสีชมพูเกษตรกรมีการปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมส่งเสริมการเกษตรในระดับมากที่สุดในประเด็น เลือกต้นพันธุ์สดใหม่ท่อนพันธุ์มีอายุ 8 - 12 เดือน ตัดท่อนพันธุ์ยาว 20 - 25 เซนติเมตร แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีเพื่อป้องกันเพลี้ยแป้งสีชมพู วิธีการปลูกปลูกแบบปักท่อนพันธุ์ตัดตรง ปลูกช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน หรือ เดือนกันยายน - พฤศจิกายนมีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพู ตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนด กำจัดวัชพืชอย่างน้อย 2 ครั้ง เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังเมื่ออายุ 10 - 12 เดือน โดยใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยว และนำผลผลิตจำหน่ายทันที3) เกษตรกรมีปัญหาในการผลิตมันสำปะหลังมากที่สุด ในประเด็นความผันผวนของราคาผลผลิต และการกดราคาของพ่อค้าคนกลาง 4) เกษตรกรมีความต้องการความรู้ในระดับมากที่สุดในประเด็นการป้องกันกำจัดโรคพืชและแมลงศัตรูพืช มีความต้องการช่องทางการส่งเสริมในภาพรวมในระดับมากที่สุดผ่านทางสื่อบุคคลราชการต้องการวิธีการส่งเสริมในภาพรวมในระดับมากในรูปแบบการสาธิต ฝึกปฏิบัติ การบรรยาย และแปลงเรียนรู้ 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังคือ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการ ให้การสนับสนุนด้านทักษะด้านวิชาการความรู้ผ่านช่องทางการส่งเสริมที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9162
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168464.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons