Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9163
Title: ปัญหาการสอบสวนและสั่งคดีในชั้นสอบสวนของตำรวจกับพนักงานอัยการ
Other Titles: The problem of investigating and making prosecution decisions in the police investigation stage and the prosecutor
Authors: สุพัตรา แผนวิชิต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนดล เจริญงามพิศ, 2510- ผู้แต่ง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
การสอบสวนของตำรวจ
การสืบสวนคดีอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญาและการสอบสวนคดีอาญา เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ ปัญหา และวิเคราะห์ปัญหา การสอบสวนและสั่งคดีในชั้นสอบสวนของตำรวจกับพนักงานอัยการ กับเสนอแนวทางในการแก้ไข เพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายในเรื่องที่เกี่ยวกับการสอบสวนของตำรวจกับพนักงานอัยการ เนื่องจากองค์กรตำรวจเป็นต้นธารของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เมื่อมีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้นเจ้าพนักงาน ตำรวจที่เข้ามาเกี่ยวข้อง คือพนักงานสอบสวนเป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐานที่จะใช้พิสูจน์ความผิด หรือความบริสุทธของผู้กระทำความผิด เมื่อพนักงานสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนเสร็จจะทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องแล้วส่งความเห็นพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อสั่งคดี การแจ้งข้อหาของพนักงานสอบสวนที่ไม่ถูกต้องกับข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ย่อมส่งผลให้การยื่นฟ้องของพนักงานอัยการผิดพลาดคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเป็นผลเสียต่อการอำนวยความยุติธรรมในทางอาญา สอดคล้องกับทฤษฎี “ต้นไม้เป็นพิษ ผลย่อมเป็นพิษ” ดังนั้น ควรให้พนักงานอัยการมีอำนาจทำการสอบสวนใหม่ได้ด้วยตนเอง หรือสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนตามที่พนักงานอัยการมีคำสั่ง หรือให้เป็นดุลพินิจของพนักงานอัยการที่จะทำการสอบสวนด้วยตนเอง โดยให้พนักงานอัยการเป็นผู้ควบคุมการสอบสวน และให้พนักงานอัยการเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนและสั่งคดี การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร โดยการศึกษาวิเคราะห์ ตำรา บทความหรือเอกสารทางวิชาการ คำพิพากษาศาลฎีกา รายงานผลการวิจัย และข้อมูลจากเอกสารอื่น ทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศ ผลการวิจัยศึกษาพบว่า การสอบสวนโดยพนักงานสอบสวน มีการบิดเบือนข้อเท็จจริง ให้แตกต่างจากความจริง ในหลายประเทศจะให้พนักงานอัยการเข้าไปมีบทบาทในการควบคุม การสอบสวน เห็นว่าควรจะแก้ไขกฎหมายให้พนักงานอัยการมีอำนาจสอบสวนคดีอาญา และให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนตามคำสั่งของพนักงานอัยการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9163
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_158858.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.39 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons