Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9177
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์การ : กรณีศึกษาพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดอุดรธานี
Other Titles: Factors affecting organizational commitment : a case study of officers of the bank for agriculture and agricultural Co-Operatives, Udonthani Province
Authors: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐพงษ์ พิมพ์กา, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: ความผูกพันต่อองค์การ--ไทย--อุดรธานี
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร--พนักงาน--ความพอใจในการทำงาน
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันองค์การของพนักงานธนาคาร จังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัย ลักษณะงานที่มีผลต่อความผูกพันองค์การของพนักงานธนาคาร จังหวัดอุดรธานี 3) เสนอแนะแนวทาง ในการเสริมสร้างความผูกพันองค์การของพนักงานธนาคาร จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานธนาคาร จังหวัดอุดรธานี จำนวน 172 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าแบ่งเป็น 3 ส่วน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.923 สำหรับค่าสถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบทดสอบ แบบที และแบบทดสอบแบบเอฟ การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธสหสัมพันธ์ โดยมีค่าค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ระดับความผูกพันองค์การของพนักงานธนาคาร จังหวัดอุดรธานี อยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ตำแหน่งที่แตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การ โดยรวมแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ในด้านความเต็มใจ ทุ่มเทความพยายามอย่างมาก เพื่อประโยชน์ขององค์การ ปัจจัยลักษณะงานที่ปฏิปติต่อความผูกพันต่อองค์การโดยรวมของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน ในระดับปานกลาง กล่าวคือเมื่อพนักงานมีความคิดเห็นต่อปัจจัยลักษณะงานที่ปฏิบัติดีจะมีความผูกพันต่อองค์การโดยรวมมากด้วย เพื่อเสริมสร้างความผูกพันองค์การ ควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ให้บุคลากรมีอิสระในการตัดสินใจงานที่รับผิดชอบ ส่งเสริมความคิด สร้างสรรค์ในงานที่ปฏิบัติ มีกิจกรรมที่ส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ สื่อสารกับพนักงานเพื่อให้รับทราบนโยบายขององค์การ สร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ เสริมสร้างโอกาสก้าวหน้าในงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9177
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
125794.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons